เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 1. กามสุตตนิทเทส
พระอรหันต์นั้นถึงความชำนาญ บรรลุบารมีในอริยศีล ถึงความชำนาญ บรรลุ
บารมีในอริยสมาธิ ถึงความชำนาญ บรรลุบารมีในอริยปัญญา ถึงความชำนาญ
บรรลุบารมีในอริยวิมุตติ
พระอรหันต์นั้นถึงฝั่ง บรรลุฝั่ง ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงปลายสุด บรรลุ
ปลายสุด ถึงท้ายสุด บรรลุท้ายสุด ถึงความสำเร็จ บรรลุความสำเร็จ ถึงที่ปกป้อง
บรรลุที่ปกป้อง ถึงหลีกที่เร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย
บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงที่ไม่ตาย บรรลุที่ไม่ตาย ถึงที่ดับ บรรลุ
ที่ดับ
พระอรหันต์นั้นอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ผ่านทางไกล
ได้แล้ว ถึงทิศ(นิพพาน)แล้ว ถึงจุดจบ(นิพพาน)แล้ว รักษาพรหมจรรย์ได้แล้ว ถึง
ทิฏฐิอันสูงสุด1แล้ว เจริญมรรคได้แล้ว ละกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งธรรมที่ไม่กำเริบแล้ว
ทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ได้แล้ว ละสมุทัยได้แล้ว เจริญมรรคได้แล้ว
ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ได้แล้ว ละ
ธรรมที่ควรละได้แล้ว เจริญธรรมที่ควรเจริญได้แล้ว ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งได้แล้ว
พระอรหันต์นั้นถอนลิ่มสลักคืออวิชชาได้แล้ว ถมคูคือกรรมได้แล้ว ถอนเสา
ระเนียดคือตัณหาได้แล้ว ไม่มีบานประตูคือสังโยชน์ เป็นผู้ไกลจากข้าศึกคือกิเลส
ปลดธงคือมานะลงเสียแล้ว ปลงภาระได้แล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับโยคกิเลสแล้ว ละองค์ 5
(แห่งนิวรณ์)ได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ 6 มีธรรมเครื่องรักษาอย่างเอก(คือสติ) มี
อปัสเสนธรรม2 4 อย่าง มีปัจเจกสัจจะ3อันบรรเทาได้แล้ว มีการแสวงหาอันสละได้
โดยชอบ ไม่บกพร่อง มีความดำริไม่ขุ่นมัว มีกายสังขารอันระงับได้แล้ว มีจิตหลุด
พ้นดีแล้ว มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นผู้บริสุทธิ์บริบูรณ์ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดม

เชิงอรรถ :
1 ทิฏฐิอันสูงสุด หมายถึงสัมมาทิฏฐิ (ขุ.ม.อ. 6/82)
2 อปัสเสนธรรม คือธรรมดุจพนักพิง หรือธรรมที่พึ่งอาศัย มี 4 อย่าง คือ (1) สงฺขาเยกํ ปฏิเสวติ ของ
อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเสพ เช่น ปัจจัย 4 (2) สงฺขาเยกํ ปริวชฺเชติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้น เช่น
คนพาลหรือสัตว์ร้าย (3) สงฺขาเยกํ วิโนเทติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทา เช่น กามวิตก
(4) สงฺขาเยกํ ปชหติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วละเสีย (ที.ปา. 11/308/200, ที.ปา.อ. 308/204,
ขุ.ม.อ. 6/86)
3 ปัจเจกสัจจะ หมายถึงทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งที่ยังยึดถือ เช่น ถือว่าทรรศนะนี้เท่านั้นจริง ทรรศนะนี้
เท่านั้นจริง (ขุ.ม.อ. 6/86)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :26 }