เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
10. วิมุตติญาณทัสสนกถา (ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจและเข้าใจเรื่องความรู้
ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์)
ย่อมกล่าวสติปัฏฐานกถา สัมมัปปธานกถา อิทธิบาทกถา อินทริยกถา
พลกถา โพชฌงคกถา มัคคกถา ผลกถา นิพพานกถา
คำว่า ผู้สำรวมวาจา ได้แก่ ผู้สำรวม เคร่งครัด คุ้มครอง ปกปัก รักษา
สังวร สงบ
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ...
ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง
และตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี รวมความว่า บุคคล ... เป็นผู้สำรวมวาจา
นั้นแล ชื่อว่าเป็นมุนี ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด
ไม่คะนอง พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นผู้สำรวมวาจา นั้นแล ชื่อว่าเป็นมุนี
[86] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต
ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย
ย่อมไม่ถูกนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย

ว่าด้วยผู้ไม่มีตัณหา
คำว่า บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อธิบายว่า ตัณหา
ตรัสเรียกว่า เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ ตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งนั้น ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้
สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า
บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลไม่ดำเนินตามความเพลิดเพลินในรูปว่า "ในอนาคตกาล
เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... พึงมีเวทนาอย่างนี้ ... พึงมีสัญญาอย่างนี้ ... พึงมีสังขารอย่างนี้"

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :258 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ย่อมไม่ดำเนินตามความเพลิดเพลินในวิญญาณว่า "ในอนาคตกาล เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้" จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อให้ได้ตาและรูปที่ยังไม่ได้ว่า "ในอนาคตกาล
เราพึงมีตาเช่นนี้ เห็นรูปเช่นนี้" เพราะมีการไม่ตั้งจิตเป็นปัจจัย เขาจึงไม่เพลิดเพลิน
ตาและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินตาและรูปนั้น จึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้ง
ในอนาคต อย่างนี้บ้าง ... "ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีหูเช่นนี้ ได้ยินเสียงเช่นนี้"
บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อให้ได้ใจและธรรมารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า "ในอนาคตกาล เราพึงมีใจ
เช่นนี้ รู้ธรรมารมณ์เช่นนี้" เพราะไม่มีความตั้งจิตเป็นปัจจัย เขาจึงไม่เพลิดเพลินใจ
และธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินใจและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่า ไม่มีตัณหา
เครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อให้ได้ภพที่ยังไม่ได้ว่า เราจักเป็นเทพ หรือ
เทวดาตนใดตนหนึ่งด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เพราะมีการไม่ตั้งจิตเป็น
ปัจจัย เขาจึงไม่เพลิดเพลินภพนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินภพนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีตัณหา
เครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อย่างนี้บ้าง

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก
คำว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว อธิบายว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่แปรผัน
ไป หรือเมื่อสิ่งนั้นแปรผันไปแล้วก็ไม่เศร้าโศก คือ ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก
ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า "ตาของเราแปรผันไป"
ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า
"หูของเรา ... จมูกของเรา .... ลิ้นของเรา ... กายของเรา ... รูปของเรา ... เสียงของเรา
... กลิ่นของเรา ... รสของเรา ... โผฏฐัพพะของเรา ... ตระกูลของเรา ... จีวรของเรา ...
หมู่คณะของเรา ... อาวาสของเรา ... ลาภของเรา ... ยศของเรา ... สรรเสริญของเรา ...
สุขของเรา ... บิณฑบาตของเรา ... เสนาสนะของเรา ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ของเรา ... มารดาของเรา ... บิดาของเรา ... พี่ชายน้องชายของเรา ... พี่สาวน้อง
สาวของเรา ... บุตรของเรา ... ธิดาของเรา ... มิตรและอำมาตย์ของเรา ... ญาติของเรา
ผู้ร่วมสายโลหิตของเราแปรผันไป" ดังนี้ รวมความว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วง
ไปแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :259 }