เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
บิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้งดอาหารมื้อหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้
ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตรบ้าง เป็น
ผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้
จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตน-
สมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติบ้าง" ภิกษุนี้ย่อมไม่อวด ไม่โอ้อวด อย่างนี้ คือ เป็นผู้งด
งดเว้น เว้นขาด ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับความอวด
ความโอ้อวด มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ผู้ไม่โอ้อวด

ว่าด้วยผู้ไม่คะนอง
คำว่า ความคะนอง ในคำว่า ผู้ไม่คะนอง อธิบายว่า ความคะนองมือ
ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองเท้า ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองมือและเท้า
ก็ชื่อว่าความคะนอง ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่า
ไม่ควร ความสำคัญในวิกาลว่าเป็นกาล ความสำคัญในกาลว่าเป็นวิกาล ความ
สำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความคะนอง
กิริยาที่คะนอง ภาวะที่คะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่านเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า
ความคะนอง
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะเหตุ
2 อย่าง คือ (1) เพราะทำ (2) เพราะไม่ทำ
ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะไม่ทำ
เป็นอย่างไร
คือ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า "เราทำแต่
กายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต ... เราทำแต่วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต ... เราทำแต่มโนทุจริต
ไม่ทำมโนสุจริต ... เราทำแต่ปาณาติบาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติปาต ... เรา
ทำแต่อทินนาทาน ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน ... เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร
ไม่ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ... เราทำแต่มุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจาก
มุสาวาท ... เราทำแต่ปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา ... เราทำแต่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :255 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ผรุสวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา ... เราทำแต่สัมผัปปลาปะ ไม่ทำความ
งดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ... เราทำแต่อภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา ... เราทำแต่พยาบาท
ไม่ทำอัพยาบาท" ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า "เราทำแต่
มิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ" ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้น
เพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า "เรามิได้
รักษาศีลให้บริบูรณ์" ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า "เรา
ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้ง 6 ... ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ... ไม่ประกอบ
ความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ ... ไม่หมั่นประกอบสติสัมปชัญญะ ... ไม่เจริญ
สติปัฏฐาน 4 ... ไม่เจริญสัมมัปปธาน 4 ... ไม่เจริญอิทธิบาท 4 ... ไม่เจริญ
อินทรีย์ 5 ... ไม่เจริญพละ 5 ... ไม่เจริญโพชฌงค์ 7 ... ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ...
ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ... ไม่ละสมุทัย ... ไม่เจริญมรรค เราไม่ทำนิโรธให้ประจักษ์แจ้ง"
ความคะนองนี้ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่คะนอง
รวมความว่า ผู้ไม่โอ้อวด ไม่คะนอง

ว่าด้วยปัญญาเรียกว่า มันตา
คำว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน อธิบายว่า ปัญญาตรัสเรียกว่า มันตา
คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
มีวิเคราะห์ว่า ผู้ใดกำหนดกล่าววาจาด้วยปัญญา แม้พูดมาก แม้กล่าวมาก
แม้แสดงมาก แม้ชี้แจงมาก ก็ไม่กล่าวถ้อยคำที่เป็นเรื่องพูดชั่ว กล่าวชั่ว เจรจาชั่ว
ปราศรัยชั่ว เล่าเรื่องชั่ว ฉะนั้น ผู้นั้น จึงชื่อว่าผู้พูดด้วยปัญญา
ความฟุ้งซ่าน ในคำว่า ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอย่างไร
คือ ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบแห่งจิต ใจกวัดแกว่ง ความคิดวกวน นี้ตรัส
เรียกว่า ความฟุ้งซ่าน
ความฟุ้งซ่านนี้ ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่
ฟุ้งซ่าน รวมความว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :256 }