เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
สัมผัสโผฏฐัพพะเช่นนี้" ... ไม่ตั้งใจเพื่อให้ได้ใจและธรรมารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า "ใน
อนาคตกาล เราพึงมีใจเช่นนี้ รู้ธรรมารมณ์เช่นนี้" เพราะไม่มีความตั้งใจเช่นนั้นเป็น
ปัจจัย พระอรหันต์จึงไม่เพลิดเพลินใจและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินใจและ
ธรรมารมณ์นั้น พระอรหันต์นั้นจึงไม่มีความมุ่งหวังในอนาคตกาล อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งใจเพื่อให้ได้ภพที่ยังไม่ได้ว่า "เราจักเป็น
เทพเจ้า หรือเทวดาตนใดตนหนึ่งด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้" เพราะการ
ไม่ตั้งใจเช่นนั้นเป็นปัจจัย พระอรหันต์จึงไม่เพลิดเพลินภพนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน
ภพนั้น พระอรหันต์จึงไม่มีความมุ่งหวังในอนาคตกาล อย่างนี้บ้าง
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
ก่อนดับขันธปรินิพพาน พระอรหันต์เป็นผู้คลายตัณหา
ไม่ติดอยู่กับความเพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้น
ใคร ๆ กำหนดไม่ได้ในส่วนท่ามกลาง
พระอรหันต์นั้นมิได้มุ่งหวังถึงตัณหาและทิฏฐิ(ในส่วนเบื้องปลาย)
[85] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด
ไม่คะนอง พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นผู้สำรวมวาจา นั้นแล ชื่อว่าเป็นมุนี

ว่าด้วยเหตุเกิดความโกรธ 10 อย่าง
คำว่า ผู้ไม่โกรธ ในคำว่า ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง กล่าวไว้แล้วข้างต้น อนึ่ง
ควรกล่าวถึงความโกรธก่อน ความโกรธ ย่อมเกิดได้เพราะเหตุ 10 อย่าง คือ
1. เพราะสำคัญว่า ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
2. เพราะสำคัญว่า ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
3. เพราะสำคัญว่า ผู้นี้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
4. ... ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
5. ... ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
6. ... ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :252 }