เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยความมุ่งหวัง 2 อย่าง
คำว่า นั้น ในคำว่า พระอรหันต์นั้นมิได้มุ่งหวังตัณหาและทิฏฐิ(ในส่วน
เบื้องปลาย) ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ความมุ่งหวังตัณหาและทิฏฐิ(ในส่วนเบื้องปลาย) ได้แก่ ความมุ่ง
หวังในส่วนเบื้องปลาย 2 อย่าง คือ (1) ความมุ่งหวังด้วยอำนาจตัณหาในส่วน
เบื้องปลาย (2) ความมุ่งหวังด้วยอำนาจทิฏฐิในส่วนเบื้องปลาย ... นี้ชื่อว่าความมุ่ง
หวังด้วยอำนาจตัณหาในส่วนเบื้องปลาย ... นี้ชื่อว่าความมุ่งหวังด้วยอำนาจทิฏฐิใน
ส่วนเบื้องปลาย
พระอรหันต์นั้นละความมุ่งหวังด้วยอำนาจตัณหาในส่วนเบื้องปลายได้แล้ว
สลัดทิ้งความมุ่งหวังด้วยอำนาจทิฏฐิในส่วนเบื้องปลายได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความ
มุ่งหวังด้วยอำนาจตัณหาในส่วนเบื้องปลาย สลัดทิ้งความมุ่งหวังด้วยอำนาจทิฏฐิใน
ส่วนเบื้องปลายได้แล้ว พระอรหันต์จึงไม่เที่ยวมุ่งหวังตัณหาหรือทิฏฐิ คือไม่มีตัณหา
เป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นยอดธง ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิ
เป็นยอดธง ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ไม่ถูกตัณหาหรือทิฏฐิครอบงำเที่ยวไป รวมความว่า
พระอรหันต์นั้นมิได้มุ่งหวังตัณหาและทิฏฐิ(ในส่วนเบื้องปลาย)
อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า
"ในอนาคตกาล เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... มีเวทนาอย่างนี้ ... มีสัญญาอย่างนี้ ...
มีสังขารอย่างนี้" ... พระอรหันต์ย่อมไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า
"ในอนาคตกาล เราพึงมีวิญญาณอย่างนี้" พระอรหันต์นั้นจึงชื่อว่าไม่มีความมุ่งหวัง
เบญจขันธ์ในอนาคตกาล อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งใจเพื่อให้ได้ตาและรูปที่ยังไม่ได้ว่า "ใน
อนาคตกาล เราพึงมีตาเช่นนี้ เห็นรูปเช่นนี้" เพราะไม่มีความตั้งใจเช่นนั้นเป็นปัจจัย
พระอรหันต์จึงไม่เพลิดเพลินตาและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินตาและรูปนั้น พระ
อรหันต์นั้นจึงไม่มีความมุ่งหวังในอนาคตกาล อย่างนี้บ้าง
พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งใจเพื่อให้ได้หูและเสียงที่ยังไม่ได้ว่า "ในอนาคตกาล เรา
พึงมีหูเช่นนี้ ได้ยินเสียงเช่นนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีจมูกเช่นนี้ ได้กลิ่นเช่นนี้...
ในอนาคตกาล เราพึงมีลิ้นเช่นนี้ รู้รสเช่นนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีกายเช่นนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :251 }