เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งฌาน 4 อัปปมัญญา 4
อรูปสมาบัติ 4 จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์ 8 อภิภายตนะ 8
อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสัญญาภาวนา 10 กสิณ-
สมาบัติ 10 อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 จึงชื่อว่าพระ
ผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ 10 เวสารัชช-
ญาณ 4 ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 พุทธธรรม 6 จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
พระนามว่า พระผู้มีพระภาค นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง
มิใช่พระภาดาทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรและอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติ
และผู้ร่วมสายโลหิตทรงตั้ง มิใช่สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม เป็นสัจฉิกาบัญญัติ ของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคน
ต้นโพธิ์ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้ ก่อนดับขันธปรินิพพาน
พระอรหันต์เป็นผู้คลายตัณหา
คำว่า ไม่ติดอยู่กับความเพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้น อธิบายว่า
อดีตกาล ตรัสเรียกว่า ส่วนเบื้องต้น พระอรหันต์ปรารภอดีตกาล ละตัณหาได้แล้ว
สลัดทิ้งทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละตัณหา สลัดทิ้งทิฏฐิได้แล้ว พระอรหันต์จึงชื่อว่า
ไม่ติดอยู่กับความเพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้น อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า
"ในอดีตกาล เราได้มีรูปอย่างนี้ ... มีเวทนาอย่างนี้ ... มีสัญญาอย่างนี้ ... มีสังขาร
อย่างนี้" ... พระอรหันต์ย่อมไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า
"ในอดีตกาล เราได้มีวิญญาณอย่างนี้" พระอรหันต์จึงชื่อว่าไม่ติดอยู่กับความ
เพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้นอย่างนี้บ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :249 }