เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 9. มาคันทิยสุตตนิทเทส
ถือทิฏฐิว่า "โลกเที่ยง ... หรือ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่" ชนเหล่านั้น ย่อมกระทบกระทั่งกัน คือ ทำร้ายกัน ด้วยอำนาจทิฏฐิ
ได้แก่กระทบกระทั่ง คือ ทำร้ายศาสดาโดยศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอนโดย
ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะโดยหมู่คณะ ทิฏฐิโดยทิฏฐิ ปฏิปทาโดยปฏิปทา
มรรคโดยมรรค
อีกนัยหนึ่ง ชนเหล่านั้น ย่อมวิวาทกัน คือ ก่อการทะเลาะ ก่อการบาดหมาง
ก่อการแก่งแย่ง ก่อการวิวาท ก่อการมุ่งร้ายกันว่า "ท่านไม่รู้จักธรรมวินัยนี้ ... หรือ
หากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด" ชนเหล่านั้น ยังละอภิสังขารไม่ได้ เพราะยังละ
อภิสังขารไม่ได้ จึงกระทบกระทั่งกันในคติ กระทบกระทั่งกันในนรก กระทบกระทั่ง
กันในกำเนิดเดรัจฉาน กระทบกระทั่งกันในเปตวิสัย กระทบกระทั่งกันในมนุษยโลก
กระทบกระทั่งกันในเทวโลก กระทบกระทั่งกัน คือ ทำร้ายคติด้วยคติ ... การถือ
กำเนิดด้วยการถือกำเนิด ... ปฏิสนธิด้วยปฏิสนธิ ... ภพด้วยภพ ... สงสารด้วยสงสาร
... วัฏฏะด้วยวัฏฏะ ได้แก่ เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป
ยังชีวิตให้ดำเนินไป กระทบกระทั่งกัน
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก รวมความว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้นย่อมเที่ยว
กระทบกระทั่งกันในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีผู้เว้นจากสัญญาแล้ว ย่อมไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด
มุนีผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาแล้ว ย่อมไม่มีความลุ่มหลง
ชนเหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ
ชนเหล่านั้นย่อมเที่ยวกระทบกระทั่งกันในโลก
มาคันทิยสุตตนิทเทสที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :245 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 10. ปุราเภทสุตตนิทเทส
10. ปุราเภทสุตตนิทเทส1
อธิบายปุราเภทสูตร
ว่าด้วยก่อนการดับขันธปรินิพพาน
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายปุราเภทสูตร ดังต่อไปนี้
[83] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
บุคคลมีทัสสนะ2อย่างไร มีศีลอย่างไร
จึงเรียกว่า เป็นผู้สงบแล้ว
ข้าแต่พระโคตมะ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกนรชนผู้สูงสุดนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด

ว่าด้วยคำถามของพระพุทธเนรมิต
คำว่า มีทัสสนะอย่างไร ในคำว่า บุคคลมีทัสสนะอย่างไร มีศีลอย่างไร
จึงเรียกว่า เป็นผู้สงบแล้ว อธิบายว่า บุคคลประกอบด้วยทัสสนะอย่างไร คือ มี
จุดยืนอย่างไร มีท่าทีอย่างไร มีแนวเทียบอย่างไร รวมความว่า มีทัสสนะอย่างไร
คำว่า มีศีลอย่างไร อธิบายว่า บุคคลประกอบด้วยศีลอย่างไร คือ มีจุดยืน
อย่างไร มีท่าทีอย่างไร มีแนวเทียบอย่างไร รวมความว่า มีทัสสนะอย่างไร มีศีล
อย่างไร
คำว่า จึงเรียกว่า เป็นผู้สงบแล้ว อธิบายว่า จึงตรัสเรียก คือ กล่าว พูด
บอก แสดง ชี้แจงว่า เป็นผู้สงบแล้ว ระงับแล้ว เย็นแล้ว สงัดแล้ว พระพุทธเนรมิต
ทูลถามถึงอธิปัญญาด้วยคำว่า มีทัสสนะอย่างไร ทูลถามถึงอธิสีลด้วยคำว่า
มีศีลอย่างไร ทูลถามถึงอธิจิตด้วยคำว่า เป็นผู้สงบแล้ว รวมความว่า บุคคลมี
ทัสสนะอย่างไร มีศีลอย่างไร จึงเรียกว่า เป็นผู้สงบแล้ว

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/855-868/501-503
2 ทัสสนะ ในที่นี้หมายถึง อธิปัญญา
ศีล ในที่นี้หมายถึง อธิสีล
สงบ ในที่นี้หมายถึง อธิจิต (ขุ.สุ.อ. 855/388, ขุ.ม.อ. 83/315) และดู ขุ.สุ. 25/362/402,
ขุ.สุ.อ. 362/170 ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :246 }