เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 1. กามสุตตนิทเทส
ว่าด้วยผู้มีสติทุกเมื่อ
คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย
2. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
3. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต
4. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย
ชื่อว่ามีสติด้วยเหตุอีก 4 อย่าง ... สัตว์เกิดนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ผู้มีสติ1
รวมความว่า เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดพึงมีสติทุกเมื่อ
คำว่า ละกามทั้งหลายได้ อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม 2 อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (1) วัตถุกาม
(2) กิเลสกาม ... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม
คำว่า ละกามทั้งหลายได้ อธิบายว่า พึงละกามได้โดยเหตุ 2 อย่าง คือ
(1) โดยการข่มไว้ (2) โดยการตัดขาด
บุคคลพึงละกามได้โดยการข่มไว้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก
เพราะให้ความยินดีเล็กน้อย จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ เพราะเป็นของทั่วไป
แก่คนส่วนมาก จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า เพราะไหม้
ลุกลาม จึงละกามได้โดยการข่มไว้ ... บุคคลกำลังเจริญเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ จึงละกามได้โดยการข่มไว้ บุคคลชื่อว่าพึงละกามได้โดยการข่มไว้
เป็นอย่างนี้2... บุคคลชื่อว่าพึงละกามได้โดยการตัดขาด เป็นอย่างนี้ รวมความว่า
ละกามทั้งหลายได้

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 3/12-13
2 ดูรายละเอียดข้อ 3/7-9

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :24 }