เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 9. มาคันทิยสุตตนิทเทส
คำว่า ดอกบัวก้านมีหนามเกิดในน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนตม
ฉันใด อธิบายว่า น้ำ ตรัสเรียกว่า เอละ น้ำ ตรัสเรียกว่า อัมพุ ดอกบัว ตรัส
เรียกว่า อัมพุชะ ก้านขรุขระ ตรัสเรียกว่ามีหนาม น้ำ ตรัสเรียกว่า วารี ดอกบัว
เกิดในน้ำ ตรัสเรียกว่า วาริชะ น้ำ ตรัสเรียกว่า ชละ เปือกตมตรัสเรียกว่า โคลนตม
ดอกบัวเกิดในน้ำ อยู่ในน้ำ (แต่) ไม่ติด ไม่ติดแน่น ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนตม
คือ ไม่ถูกน้ำและโคลนตมติดแล้ว ติดแน่นแล้ว แปดเปื้อนแล้ว ฉันใด รวมความว่า
ดอกบัวก้านมีหนามเกิดในน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนตม ฉันใด
คำว่า ฉันนั้น ในคำว่า มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ ก็ไม่ยินดี ไม่แปดเปื้อน
ในกามและโลก ฉันนั้น เป็นคำอุปไมยที่ทำอุปมาให้สมบูรณ์
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง
และตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี
คำว่า ผู้กล่าวเรื่องความสงบ อธิบายว่า มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ คือ
กล่าวเรื่องที่ป้องกัน กล่าวเรื่องที่หลีกเร้น กล่าวเรื่องที่พึ่ง กล่าวเรื่องที่ไม่มีภัย
กล่าวเรื่องที่ไม่คลาดเคลื่อน กล่าวเรื่องอมตธรรม กล่าวเรื่องนิพพาน รวมความว่า
มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ ... ฉันนั้น
คำว่า ไม่ยินดี อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความยินดี คือ ความกำหนัด
ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ1
ตัณหาที่ตรัสเรียกว่าความยินดีนั้น มุนีใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้
สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว มุนีนั้น
ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ยินดี คือ ผู้ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่สยบ ไม่หมกมุ่นในรูป ... เสียง ...
กลิ่น ... รส... โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ
... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ... กามธาตุ ...
รูปธาตุ ... อรูปธาตุ ... กามภพ ... รูปภพ ... อรูปภพ ... สัญญาภพ ... อสัญญาภพ
... เนวสัญญานาสัญญาภพ ... เอกโวการภพ ... จตุโวการภพ ... ปัญจโวการภพ ...
อดีต ... อนาคต ... ปัจจุบัน คือผู้ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่สยบ ไม่หมกมุ่นในรูปที่เห็น
เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ เป็นผู้คลาย
ความยินดีแล้ว ปราศจากความยินดีแล้ว สละความยินดีแล้ว คายความยินดีแล้ว

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 3/10-11

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :239 }