เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 9. มาคันทิยสุตตนิทเทส
คำว่า ในพระอรหันต์ใด ในคำว่า ความสำคัญว่า เราเสมอเขา เราเลิศ
กว่าเขา (หรือเราด้อยกว่าเขา) ย่อมไม่มีในพระอรหันต์ใด อธิบายว่า ในพระ
อรหันต์คือ พระขีณาสพใด ไม่มีความถือตัวว่า "เราเสมอเขา" ไม่มีความถือดีว่า
"เราเลิศกว่าเขา" ไม่มีความดูหมิ่นว่า "เราด้อยกว่าเขา" คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้
ได้แก่ ความถือตัวนั้นพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ความสำคัญว่า
เราเสมอเขา เราเลิศกว่าเขา(หรือเราด้อยกว่าเขา) ย่อมไม่มีในพระอรหันต์ใด
คำว่า พระอรหันต์นั้น พึงตอบโต้วาทะ ด้วยเหตุอะไรเล่า อธิบายว่า
พระอรหันต์นั้น พึงตอบโต้วาทะ คือ พึงโต้เถียง พึงก่อการทะเลาะ ก่อการ
บาดหมาง ก่อการแก่งแย่ง ก่อการวิวาท ก่อการมุ่งร้าย ด้วยเหตุอะไร ด้วยทิฏฐิ
อะไร หรือกับบุคคลใดว่า "ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ... หรือหากท่านสามารถ ก็จง
แก้ไขเถิด" รวมความว่า พระอรหันต์นั้น พึงตอบโต้วาทะ ด้วยเหตุอะไรเล่า
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นพึงกล่าวอะไรว่า จริง
หรือบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นพึงโต้เถียงว่า เท็จ ด้วยเหตุอะไร
ความสำคัญว่าเราเสมอเขา เราเลิศกว่าเขา
(หรือเราด้อยกว่าเขา) ย่อมไม่มีในพระอรหันต์ใด
พระอรหันต์นั้น พึงตอบโต้วาทะ ด้วยเหตุอะไรเล่า
[79] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลละที่อาศัยแล้ว ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย
มุนีไม่ทำความเยื่อใยในกาม ว่างจากกามทั้งหลาย
ไม่มุ่งหมายอัตภาพต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน
ครั้งนั้นแล หาลินทกานิคหบดี เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ กราบ
ท่านพระมหากัจจายนะแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วได้ถามท่านพระมหา-
กัจจายนะว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้ ในมาคันทิยปัญหา อันมาใน
อัฏฐกวรรคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :233 }