เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 9. มาคันทิยสุตตนิทเทส
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า มาคันทิยพราหมณ์กราบทูล ดังนี้ เป็นบทสนธิ ... คำว่า
ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า มาคันทิยะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ... รวมความว่า มาคันทิยพราหมณ์
กราบทูล ดังนี้
คำว่า ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร อธิบายว่า ไม่กล่าว คือ
ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะศีล ... เพราะวัตร ... ไม่กล่าว คือ
ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะศีลและวัตร รวมความว่า ไม่กล่าว
ความหมดจดเพราะศีลและวัตร
คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ เพราะ
ความไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ เพราะความไม่มีศีล เพราะความไม่มี
วัตรนั้นก็หามิได้ อธิบายว่า ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ทิฏฐิก็พึงปรารถนา ... การฟัง
ก็พึงปรารถนา ... ญาณก็พึงปรารถนา ... ศีลก็พึงปรารถนา ... ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า
วัตรก็พึงปรารถนา ท่านไม่สามารถยอมรับโดยส่วนเดียวได้ ทั้งไม่สามารถปฏิเสธ
โดยส่วนเดียวได้ รวมความว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ
เพราะความไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ เพราะความไม่มีศีล เพราะความไม่มี
วัตรนั้น ก็หามิได้
คำว่า ข้าพเจ้าจึงเข้าใจธรรมของท่านว่า เป็นเรื่องงมงายแน่นอน อธิบายว่า
ข้าพเจ้าจึงเข้าใจอย่างนี้ คือ รู้ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดอย่างนี้ว่า ธรรม
ของท่านนี้ เป็นธรรมงมงาย คือ เป็นธรรมของคนเขลา ธรรมของคนหลง ธรรมของ
คนไม่รู้ ธรรมของคนมีลัทธิที่หลบเลี่ยงไม่แน่นอน รวมความว่า ข้าพเจ้าจึงเข้าใจ
ธรรมของท่านว่า เป็นเรื่องงมงายแน่นอน
คำว่า เพราะสมณพราหมณ์บางพวกถึงความหมดจดได้เพราะทิฏฐิ อธิบาย
ว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถึงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะทิฏฐิว่า "โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นเป็นโมฆะ" สมณพราหมณ์บางพวก ถึงความหมดจด คือ ความสะอาด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :228 }