เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 9. มาคันทิยสุตตนิทเทส
คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า นักปราชญ์ ... เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึง
หวังภพ อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ คือ เข้าไปสงบแล้ว สงบเย็นแล้ว ดับได้แล้ว
สงบระงับได้แล้ว เพราะสงบ ระงับ สงบเย็น เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับราคะ ...
โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ...
มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ...
กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อน
ทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท รวมความว่า
เป็นผู้สงบ
คำว่า ไม่อาศัยแล้ว ได้แก่ ความอาศัย 2 อย่าง คือ (1) ความอาศัยด้วย
อำนาจตัณหา (2) ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจ
ตัณหา ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ1
นักปราชญ์ละการอาศัยด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการอาศัยด้วย
อำนาจทิฏฐิได้แล้ว ไม่อาศัย คือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ...
กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ...
ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัย-
เภสัชบริขาร ... กามธาตุ ... รูปธาตุ ... อรูปธาตุ ... กามภพ ... รูปภพ ... อรูปภพ ...
สัญญาภพ ... อสัญญาภพ ... เนวสัญญานาสัญญาภพ ... เอกโวการภพ ...
จตุโวการภพ ... ปัญจโวการภพ ... อดีต ... อนาคต ... ปัจจุบัน ไม่อาศัย คือ ไม่ถือ
ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง รวมความว่า เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว
คำว่า ไม่พึงหวังภพ ได้แก่ ไม่พึงหวัง คือ ไม่พึงมุ่งหวัง ไม่พึงคาดหวัง
กามภพ รูปภพ อรูปภพ รวมความว่า นักปราชญ์ ... เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว
ไม่พึงหวังภพ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า มาคันทิยะ
นักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะสุตะ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 12/58-59

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :226 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 9. มาคันทิยสุตตนิทเทส
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร
บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน
เพราะความไม่มีทิฏฐิ เพราะความไม่มีสุตะ
เพราะความไม่มีญาณ เพราะความไม่มีศีล
เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็หามิได้
นักปราชญ์สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว
ไม่ยึดมั่น เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึงหวังภพ
[75] (มาคันทิยพราหมณ์กราบทูล ดังนี้)
หากนักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะสุตะ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร
บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ
เพราะความไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ
เพราะความไม่มีศีล เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็หามิได้
ข้าพเจ้าจึงเข้าใจธรรมของท่านว่า เป็นเรื่องงมงายแน่นอน
เพราะสมณพราหมณ์บางพวกถึงความหมดจดได้เพราะทิฏฐิ
คำว่า หากนักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ ไม่กล่าวความ
หมดจดเพราะสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ อธิบายว่า นักปราชญ์
ไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด
ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะทิฏฐิ ... เพราะสุตะ
... เพราะทิฏฐิและสุตะ ... นักปราชญ์ไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจง
ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความ
หลุดพ้นไป เพราะญาณ รวมความว่า หากนักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะ
ทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดเพราะสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :227 }