เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 9. มาคันทิยสุตตนิทเทส
5. สปทานจาริกังคธุดงค์ 6. ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์
7. เนสัชชิกังคธุดงค์ 8. ยถาสันถติกังคธุดงค์
คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ เพราะความ
ไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ เพราะความไม่มีศีล เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็
หามิได้ อธิบายว่า บุคคลเป็นผู้บรรลุถึงความสงบภายใน เพียงเพราะสัมมาทิฏฐิ
ก็หามิได้ เพียงเพราะการได้ฟังก็หามิได้ เพียงเพราะญาณก็หามิได้ เพียงเพราะศีลก็
หามิได้ เพียงเพราะวัตรก็หามิได้ คือ บรรลุถึงความสงบภายใน โดยเว้นจากธรรม
เหล่านี้ก็หามิได้ เพราะธรรมเหล่านี้ เป็นเครื่องประกอบเพื่อบรรลุ เพื่อถึง เพื่อ
ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งความสงบภายใน รวมความว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน
เพราะความไม่มีทิฏฐิ เพราะความไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ เพราะความ
ไม่มีศีล เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็หามิได้
คำว่า เหล่านี้ ในคำว่า สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว ไม่ยึดมั่น อธิบายว่า
บุคคลหวังการละธรรมฝ่ายดำโดยกำจัดได้เด็ดขาด หวังการไม่ก่อตัณหาในกุศลธรรม
ทั้งหลายในไตรธาตุ บุคคลละธรรมฝ่ายดำ โดยการละได้อย่างเด็ดขาดแล้ว ตัดราก
ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ และไม่ก่อตัณหาในกุศลธรรมทั้งหลายในไตรธาตุเพราะเหตุใด
นักปราชญ์ย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น เพราะเหตุเท่านี้
อีกนัยหนึ่ง ธรรมฝ่ายดำ นักปราชญ์ไม่ควรถือ ไม่ควรยึดมั่น ไม่ควรถือมั่น
รวมความว่า สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว ไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง
บุคคลละตัณหา ทิฏฐิ และมานะได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เพราะเหตุใด นักปราชญ์ย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น เพราะเหตุเท่านี้ รวมความว่า
สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว ไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง
บุคคลละปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขารได้เด็ดขาด
แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะเหตุใด นักปราชญ์ย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น
ไม่ถือมั่น เพราะเหตุเท่านี้ รวมความว่า สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว ไม่ยึดมั่น
อย่างนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :225 }