เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 9. มาคันทิยสุตตนิทเทส
[74] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มาคันทิยะ)
นักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะสุตะ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร
บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน
เพราะความไม่มีทิฏฐิ เพราะความไม่มีสุตะ
เพราะความไม่มีญาณ เพราะความไม่มีศีล
เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็หามิได้
นักปราชญ์สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว
ไม่ยึดมั่น เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึงหวังภพ
คำว่า นักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจด
เพราะสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ อธิบายว่า นักปราชญ์ไม่กล่าว คือ
ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะทิฏฐิ ... เพราะสุตะ ... เพราะ
ทิฏฐิและสุตะ นักปราชญ์ไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด
คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะ
ญาณ รวมความว่า นักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมด
จดเพราะสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ
คำว่า มาคันทิยะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ... คำว่า พระผู้มี
พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
มาคันทิยะ
คำว่า นักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร อธิบายว่า
นักปราชญ์ไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะศีล ...
เพราะวัตร นักปราชญ์ไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :223 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 9. มาคันทิยสุตตนิทเทส
คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะ
ศีลวัตร รวมความว่า นักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร
คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ เพราะความ
ไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ เพราะความไม่มีศีล เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็
หามิได้ อธิบายว่า ทิฏฐิ ประสงค์เอาสัมมาทิฏฐิมีวัตถุ 10 คือ

1. ทานที่ให้แล้วมีผล 2. ยัญที่บูชาแล้วมีผล
3. การเซ่นสรวงมีผล 4. ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่
5. โลกนี้มี 6. โลกหน้ามี
7. มารดามีคุณ 8. บิดามีคุณ
9. สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะ1มีอยู่

10. สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตน
เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งมีอยู่ในโลก
สุตะ ประสงค์เอาเสียงจากผู้อื่น คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ
ญาณ ประสงค์เอากัมมัสสกตาญาณ2 สัจจานุโลมิกญาณ3 อภิญญาญาณ4
สมาปัตติญาณ5
ศีล ประสงค์เอาปาติโมกขสังวร
วัตร ประสงค์เอาธุดงค์6 8 ข้อ คือ
1. อารัญญิกังคธุดงค์ 2. ปิณฑปาติกังคธุดงค์
3. ปังสุกูลิกังคธุดงค์ 4. เตจีวริกังคธุดงค์

เชิงอรรถ :
1 โอปปาติกะ หมายถึง สัตว์เกิดผุดขึ้น คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย)ก็หายวับไป
ไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น เทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. 171/149)
2 กัมมัสสกตาญาณ ญาณที่เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน, เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิด
เสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน หมายถึงสัมมาทิฏฐิ 10 (อภิ.วิ.(แปล) 35/793/509)
3 สัจจานุโลมิกญาณ ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ
ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ (อภิ.วิ.(แปล) 35/793/509)
4 อภิญญาญาณ ญาณคือความรู้อย่างยิ่งยวดมี 6 (1) อิทธิวิธิ (2) ทิพพโสต (3) เจโตปริยญาณ
(4) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (5) ทิพพจักขุ (6) อาสวักขยญาณ (ที.สี.(แปล) 9/234-248/77-84)
5 สมาปัตติญาณ ญาณในสมาบัติ 8 (ดูเชิงอรรถข้อ 6/25)
6 ดูคำแปลจากข้อ 17/79

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :224 }