เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 9. มาคันทิยสุตตนิทเทส
ว่าด้วยทิฏฐิ 62
คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ในคำว่า การตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น
ได้แก่ ในทิฏฐิ 62
คำว่า ตกลงใจ ... แล้ว อธิบายว่า ตกลงใจแล้ว คือ วินิจฉัยแล้ว ตัดสินแล้ว
ชี้ขาดแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
จับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือ ความถือ ความยึดมั่น
ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อว่า "ข้อนี้จริง แท้ แน่ แท้จริง ตามเป็นจริง
ไม่วิปริต" ไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่พระตถาคตพระองค์นั้น คือการ
ตกลงใจแล้วถือมั่น อันพระตถาคต ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า การตกลงใจใน
ธรรมทั้งหลายแล้วยึดมั่น
คำว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น อธิบายว่า เราเห็นโทษใน
ทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิทั้งหลาย
อีกนัยหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย บุคคลไม่ควรถือ ไม่ควรยึดมั่น ไม่ควรถือมั่น
รวมความว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐินี้ว่า "โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นเป็นโมฆะ" เป็นทิฏฐิรกชัฏ เป็นทิฏฐิกันดาร เป็นทิฏฐิที่เป็นข้าศึก เป็นการ
ดิ้นรนด้วยทิฏฐิ เป็นเครื่องประกอบคือทิฏฐิ(ทิฏฐิสังโยชน์) มีทุกข์ มีความลำบาก
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลาย
กำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อ
ตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิทั้งหลาย อนึ่ง ทิฏฐิ
ทั้งหลาย บุคคลไม่ควรถือ ไม่ควรยึดมั่น ไม่ควรถือมั่น รวมความว่า เราเห็นโทษใน
ทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐินี้ว่า "โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด
โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจาก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :219 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 9. มาคันทิยสุตตนิทเทส
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีก
ก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ" เป็นทิฏฐิรกชัฏ
เป็นทิฏฐิกันดาร เป็นทิฏฐิที่เป็นข้าศึก เป็นการดิ้นรนด้วยทิฏฐิ เป็นเครื่องประกอบ
คือทิฏฐิ มีทุกข์ มีความลำบาก มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบ
ระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น
ไม่ถือมั่นทิฏฐิทั้งหลาย อนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย บุคคลไม่ควรถือ ไม่ควรยึดมั่น ไม่ควร
ถือมั่น รวมความว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐิเหล่านี้ ที่บุคคลยึดถืออย่างนี้
แล้ว ย่อมมีคติและมีภพหน้าอย่างนั้น ๆ จึงไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิทั้งหลาย
อนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย บุคคลไม่ควรถือ ไม่ควรยึดมั่น ไม่ควรถือมั่น รวมความว่า
เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิด
ในนรก เป็นไปเพื่อเกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เป็นไปเพื่อเกิดในเปตวิสัย จึงไม่ถือ
ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิทั้งหลาย อนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย บุคคลไม่ควรถือ ไม่ควรยึดมั่น
ไม่ควรถือมั่น รวมความว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐิเหล่านี้ ไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง
ขึ้น อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา จึงไม่ถือ ไม่ยึดมั่น
ไม่ถือมั่นทิฏฐิทั้งหลาย อนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย บุคคลไม่ควรถือ ไม่ควรยึดมั่น ไม่ควร
ถือมั่น รวมความว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง
คำว่า เมื่อเลือกเฟ้น จึงได้เห็นความสงบภายใน อธิบายว่า ความสงบภายใน
คือ ความสงบ ความเข้าไปสงบ ความสงบเย็น ความดับ ความสงบระงับราคะ ...
โทสะ ...โมหะ ...โกธะ ...อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ...
มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ...
กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อน
ทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภทภายใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :220 }