เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 9. มาคันทิยสุตตนิทเทส
เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคา
ก็ไม่ได้มีความพอใจในเมถุนธรรม
จักมีความพอใจ เพราะเห็นเรือนร่าง
ที่เต็มไปด้วยปัสสาวะและอุจจาระนี้อย่างไรได้เล่า
เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องเรือนร่างนางแม้ด้วยเท้า
[71] (มาคันทิยพราหมณ์ทูลถามว่า)
หากท่านไม่ปรารถนานารีผู้เป็นอิตถีรัตนะเช่นนี้
ที่พระราชาผู้เป็นจอมคนจำนวนมากพากันปรารถนา
ท่านจะกล่าวทิฏฐิ ศีล วัตร ชีวิต
และการอุบัติขึ้นในภพ ว่าเป็นเช่นไร
[72] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มาคันทิยะ)
การตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นว่า
เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น
เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น
เมื่อเลือกเฟ้น จึงได้เห็นความสงบภายใน
คำว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ในคำว่า ... เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น
อธิบายว่า เรากล่าวสิ่งนี้ คือ เรากล่าวสิ่งนั้น กล่าวเท่านี้ กล่าวเพียงเท่านี้ กล่าว
ทิฏฐินี้ว่า "โลกเที่ยง ... หรือว่าหลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่"
คำว่า ... ย่อมไม่มีแก่เรานั้น ได้แก่ ย่อมไม่มีแก่เรา คือ คำกล่าวว่า เรากล่าว
เพียงเท่านี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น รวมความว่า ... ว่าเรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เรานั้น
คำว่า มาคันทิยะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ... คำว่า พระผู้มี-
พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ1 รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
มาคันทิยะ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 50/173-175

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :218 }