เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 8. ปสูรสุตตนิทเทส
คนขลาดเอาชนะเสนานั้นไม่ได้
แต่คนกล้า ครั้นชนะได้แล้วย่อมได้ความสุข1
เมื่อใดเสนามารทั้งหมด และกิเลสที่สร้างเสนาฝ่ายตรงข้ามทั้งปวง ถูกผู้มี
ปัญญาพิชิตและทำให้ปราชัย ทำลาย กำจัด ทำให้ไม่สู้หน้าแล้ว ด้วยอริยมรรค 4
เมื่อนั้น ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า เป็นผู้กำจัดเสนาได้แล้ว
คำว่า เหล่าใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า เที่ยวไป ได้แก่ เที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า พระอรหันต์เหล่าใด กำจัดเสนา
ได้แล้ว ... เที่ยวไป
คำว่า ไม่เอาทิฏฐิไปกระทบทิฏฐิ อธิบายว่า ทิฏฐิ 62 พระอรหันต์เหล่าใด
ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผา
ด้วยไฟคือญาณแล้ว พระอรหันต์เหล่านั้นไม่กระทบ คือ ไม่กระแทก ไม่บั่นทอน ไม่
ทำลายทิฏฐิด้วยทิฏฐิ รวมความว่า ไม่เอาทิฏฐิไปกระทบทิฏฐิ
คำว่า ปสูระเอ๋ย เธอจะพึงได้อะไร ในพระอรหันต์เหล่านั้น อธิบายว่า
ปสูระ ผู้เป็นคนฝ่ายตรงข้าม ผู้เป็นศัตรูฝ่ายตรงข้าม ผู้เป็นนักปล้ำฝ่ายตรงข้าม
เธอจะได้อะไร ในพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น รวมความว่า ปสูระเอ๋ย เธอจะพึงได้
อะไร ในพระอรหันต์เหล่านั้น
คำว่า พระอรหันต์เหล่าใดในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความถือมั่นสิ่งนี้ว่า ยอด
เยี่ยม อธิบายว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่ง
ความถือ คือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อว่า "สิ่งนี้
เยี่ยม คือ ยอด ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสูด ประเสริฐสุด" ได้แก่ ความ
ถือมั่นนั้น พระอรหันต์เหล่าใด ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระอรหันต์
เหล่าใดในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความถือมั่นสิ่งนี้ว่า ยอดเยี่ยม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 28/115-116

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :211 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 8. ปสูรสุตตนิทเทส
พระอรหันต์เหล่าใด กำจัดเสนาได้แล้ว
ไม่เอาทิฏฐิไปกระทบทิฏฐิ เที่ยวไป
พระอรหันต์เหล่าใดในธรรมวินัยนี้
ไม่มีความถือมั่นสิ่งนี้ว่า ยอดเยี่ยม
ปสูระเอ๋ย เธอจะพึงได้อะไร ในพระอรหันต์เหล่านั้น
[69] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
อนึ่ง เธอตรึกอยู่มาแล้ว เธอคิดทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ
มาถึงการแข่งคู่กับเราผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดแล้ว
ย่อมไม่สามารถเทียมทันได้เลย

ว่าด้วยพระปัญญาของพระพุทธเจ้า
คำว่า อนึ่ง ในคำว่า อนึ่ง เธอตรึกอยู่มาแล้ว เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท
เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่ง
พยัญชนะ คำว่า อนึ่ง นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า เธอตรึกอยู่มาแล้ว ได้แก่ เธอตรึก ตรอง ดำริอยู่ คือ ตรึก ตรอง
ดำริอยู่อย่างนี้ว่า เราจักมีชัยไหมหนอ จักปราชัยไหมหนอ จักทำการข่มอย่างไร
จักทำการเชิดชูอย่างไร จักทำลัทธิของเราให้เลิศลอยอย่างไร จักทำให้พิเศษอย่างไร
จักทำให้พิเศษยิ่งขึ้นไปอย่างไร จักทำการผูกมัดอย่างไร จักทำการผ่อนคลายอย่างไร
จักทำการตัดรอนอย่างไร จักทำการขนาบวาทะได้อย่างไร มาแล้ว คือ เข้ามาแล้ว
ถึงพร้อมแล้ว มาประจวบกับเราแล้ว รวมความว่า อนึ่ง เธอตรึกอยู่มาแล้ว
คำว่า เธอคิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ อธิบายว่า
คำว่า ใจ ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดขึ้นจากผัสสะเป็นต้นนั้น เธอเฝ้า
แต่คิด คิดถึงแต่ทิฏฐิด้วยใจว่า "โลกเที่ยง ... โลกไม่เที่ยง ... หรือว่า หลังจาก
ตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่" รวมความว่า เธอคิดถึง
ทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :212 }