เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 8. ปสูรสุตตนิทเทส
ว่าด้วยวิวาทกันเพราะทิฏฐิ
คำว่า ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน อธิบายว่า ชนเหล่าใด จับ ยึด ถือ
ยึดมั่น ถือมั่น ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิ 62 แล้ว ย่อมวิวาทกัน คือ ย่อมก่อ
การทะเลาะกัน ก่อการบาดหมางกัน ก่อการแก่งแย่งกัน ก่อการวิวาทกัน ก่อการ
มุ่งร้ายกัน โดยพูดว่า "ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ เรารู้ธรรมวินัยนี้ ท่านจักรู้ธรรมวินัยนี้ได้
อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูกต้อง คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มี
ประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อนท่านก็พูดทีหลัง คำที่ควรพูดทีหลังท่านกลับพูดก่อน
คำที่ท่านใช้เสมอกลับติดขัด วาทะของท่านเราหักล้างได้แล้ว เราปราบปรามท่าน
ได้แล้ว ท่านจงเที่ยวไปเพื่อเปลื้องวาทะ หรือหากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด"
รวมความว่า ชนเหล่าใด ถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน
คำว่า และกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง อธิบายว่า กล่าวอ้าง คือ พูด บอก
แสดง ชี้แจงว่า "โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ ... โลกไม่เที่ยง" ...
กล่าวอ้าง คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงว่า "หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ" รวมความว่า และกล่าว
อ้างว่า นี้เท่านั้นจริง
คำว่า เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน เมื่อวาทะเกิด ไม่มี
ในธรรมวินัยนี้ อธิบายว่า เธอจงพูดกับเจ้าลัทธิเหล่านั้น คือ ตอบโต้วาทะด้วยวาทะ
ตอบโต้การข่มด้วยการข่ม ตอบโต้การเชิดชูด้วยการเชิดชู ตอบโต้ความพิเศษด้วย
ความพิเศษ ตอบโต้ความพิเศษให้ยิ่งขึ้นไปด้วยความพิเศษให้ยิ่งขึ้นไป ตอบโต้ความ
ผูกมัดด้วยความผูกมัด ตอบโต้ความผ่อนคลายด้วยความผ่อนคลาย ตอบโต้การตัด
รอนด้วยการตัดรอน ตอบโต้การขนาบวาทะด้วยการขนาบวาทะ เพราะคนเหล่านั้น
เป็นผู้กล้าฝ่ายตรงข้าม เป็นคนฝ่ายตรงข้าม เป็นศัตรูฝ่ายตรงข้าม เป็นนักปล้ำฝ่าย
ตรงข้ามของเธอ รวมความว่า เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า ... ไม่มีในธรรมวินัยนี้
คำว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน เมื่อวาทะเกิด อธิบายว่า เมื่อวาทะเกิด คือ
เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏแล้ว กิเลสที่เป็นข้าศึก คือ ที่ขัดแย้งกัน ที่เป็น
เสี้ยนหนามกัน ที่เป็นปฏิปักษ์กันเหล่าใด พึงก่อการทะเลาะกัน ก่อการบาดหมางกัน
ก่อการแก่งแย่งกัน ก่อการวิวาทกัน ก่อการมุ่งร้ายกัน กิเลสเหล่านั้น ไม่มี คือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :209 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 8. ปสูรสุตตนิทเทส
ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ แก่พระอรหันต์ ได้แก่ กิเลสเหล่านั้นพระอรหันต์
ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผา
ด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน
เมื่อวาทะเกิด ไม่มีในธรรมวินัยนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน
และกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง
เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน
เมื่อวาทะเกิด ไม่มีในธรรมวินัยนี้
[68] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พระอรหันต์เหล่าใด กำจัดเสนาได้แล้ว
ไม่เอาทิฏฐิไปกระทบทิฏฐิ เที่ยวไป
พระอรหันต์เหล่าใดในธรรมวินัยนี้
ไม่มีความถือมั่นสิ่งนี้ว่า ยอดเยี่ยม
ปสูระเอ๋ย เธอจะพึงได้อะไร ในพระอรหันต์เหล่านั้น

ว่าด้วยเสนามาร
คำว่า พระอรหันต์เหล่าใด กำจัดเสนาได้แล้ว ... เที่ยวไป อธิบายว่า
เสนามาร ตรัสเรียกว่า เสนา กายทุจริต ชื่อว่าเสนามาร วจีทุจริต ... มโนทุจริต ...
ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ...
มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ...
มทะ ... ปมาทะ ...กิเลสทุกชนิด... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ...
ความเร่าร้อนทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท
ชื่อว่าเสนามาร
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
กิเลสกามเราเรียกว่าเสนากองที่ 1 ของท่าน
ความไม่ยินดีเราเรียกว่าเสนากองที่ 2 ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :210 }