เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 8. ปสูรสุตตนิทเทส
ท่านนำมาและยกขึ้นมาไม่ถูกต้อง ความข่มผู้อื่นท่านยังมิได้ทำ การทำลัทธิให้เลิศ
ลอยท่านยังทำไม่ดี ความพิเศษท่านยังมิได้ทำ การทำให้พิเศษยิ่งขึ้นท่านยังทำไม่ดี
ความผูกมัด ท่านยังมิได้ทำ ความผ่อนคลายท่านยังทำไม่ถูกต้อง ความตัดรอนท่าน
ยังมิได้ทำ การขนาบวาทะท่านทำไม่ถูกต้อง ท่านพูดไม่ถูกต้อง กล่าวไม่ถูกต้อง
เจรจาไม่ถูกต้อง เปล่งวาจาผิด กล่าวให้คลาดเคลื่อน พูดชั่ว"
คำว่า เป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถูกค้านตกไป อธิบายว่า เมื่อถูกคัดค้านให้ตกไป
เป็นผู้เก้อเขิน คือ ถูกบีบคั้น ถูกทำให้ละอาย ถูกทำให้กระวนกระวาย ถึงความ
ทุกข์ใจ รวมความว่า เป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถูกค้านตกไป
คำว่า เพราะคำนินทา ในคำว่า ย่อมโกรธเคือง เพราะคำนินทา แสวงหา
ข้อแก้ตัว อธิบายว่า เพราะคำนินทา คือ คำครหา คำไม่ชมเชย คำไม่สรรเสริญคุณ
ความดี
คำว่า ย่อมโกรธเคือง ได้แก่ ย่อมโกรธเคือง คือ แค้นเคือง ขุ่นเคือง ได้แก่
ทำความโกรธเคือง ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏ รวมความว่า
ย่อมโกรธเคือง เพราะคำนินทา
คำว่า แสวงหาข้อแก้ตัว ได้แก่ แสวงหาข้อแก้ตัว คือ แสวงหาข้อผิด
แสวงหาข้อพลั้งผิด แสวงหาข้อผิดพลาด แสวงหาข้อพลั้งเผลอ แสวงหาช่องทาง
รวมความว่า ย่อมโกรธเคือง เพราะคำนินทา แสวงหาข้อแก้ตัว ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
คนผู้ประกอบถ้อยคำ(เพื่อกล่าว)ในท่ามกลางบริษัท
เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ
เป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถูกค้านตกไป ย่อมโกรธเคือง
เพราะคำนินทา แสวงหาข้อแก้ตัว
[62] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บริษัทผู้พิจารณาปัญหากล่าววาทะของเขาว่า เลว
ถูกคัดค้านตกไปแล้ว เขาเสื่อมวาทะไปแล้ว
ย่อมคร่ำครวญ เศร้าโศก ทอดถอนใจว่า เขานำ(หน้า) เราไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :200 }