เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 7. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเสท
คำว่า หมู่สัตว์ ในคำว่า หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย ย่อมยินดี ...
ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว เป็นชื่อเรียกสัตว์ หมู่สัตว์ผู้กำหนัด ยินดี ติดใจ คือ สยบ
หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้น ย่อมต้องการ
ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง มุนีผู้ข้าม คือ ผู้ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง
ก้าวพ้น ล่วงพ้นซึ่งกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ ทางแห่งสงสารทั้งปวง
ได้แล้ว ถึงฝั่ง บรรลุฝั่ง ถึงที่สุด บรรลุที่สุด ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงท้ายสุด
บรรลุท้ายสุด ถึงที่ปกป้อง บรรลุที่ปกป้อง ถึงที่ป้องกัน บรรลุที่ป้องกัน ถึงที่
หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย บรรลุที่ไม่มีภัย
ถึงที่ไม่จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงอมตธรรม บรรลุอมตธรรม ถึงนิพพาน บรรลุนิพพาน
เปรียบเหมือนพวกลูกหนี้ ย่อมปรารถนา ยินดี ความเป็นผู้หมดหนี้ ฉันใด พวกที่
ป่วยไข้ ย่อมปรารถนา ยินดี ความเป็นผู้หายโรค ฉันใด พวกที่ติดอยู่ในเรือนจำ
ย่อมปรารถนา ยินดี ความพ้นจากเรือนจำ ฉันใด พวกทาส ย่อมปรารถนา ยินดี
ความเป็นไท ฉันใด พวกคนเดินทางกันดาร ย่อมปรารถนา ยินดี ภาคพื้นที่เกษม
ฉันใด หมู่สัตว์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้กำหนัด ยินดี ติดใจ คือ สยบ หมกมุ่น
เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามทั้งหลาย หมู่สัตว์เหล่านั้น ย่อมต้องการ ยินดี
ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง มุนีผู้ข้าม คือ ผู้ข้ามขึ้น ข้ามพ้นกาโมฆะ ... ภโวฆะ
... ถึงนิพพาน บรรลุนิพพาน รวมความว่า หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย
ย่อมยินดี ... ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย ย่อมยินดีมุนีผู้ว่าง
ประพฤติอยู่ ไม่มุ่งหวังกามทั้งหลาย ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว
ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทสที่ 7 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :194 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 8. ปสูรสุตตนิทเทส
8. ปสูรสุตตนิทเทส1
อธิบายปสูรสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าปสูระ
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายปสูรสูตร ดังต่อไปนี้
[59] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สมณพราหมณ์เป็นอันมาก
ย่อมกล่าวความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น
ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น
บุคคลอาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม
ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น เป็นผู้ตั้งอยู่ในปัจเจกสัจจะ
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น อธิบายว่า ย่อมกล่าว คือ
พูด บอก แสดง ชี้แจง ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปในธรรมนี้เท่านั้น ได้แก่ กล่าว คือ พูด บอก แสดง
ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไปว่า "โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ ... โลกไม่เที่ยง ...
โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะ2กับสรีระเป็น
คนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคต3เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่
เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก และไม่เกิดอีก" ... ย่อมกล่าว คือ
พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปว่า "หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ" รวมความว่า ย่อมกล่าว
ความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/831-841/496-498
2 ชีวะ ดูเชิงอรรถข้อ 16/77
3 ตถาคต ดูเชิงอรรถข้อ 16/77

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :195 }