เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 7. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คำว่า พึงศึกษาวิเวกนั่นแหละ ได้แก่ พึงศึกษา คือ พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ
ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติวิเวกนั่นแหละ รวมความว่า พึงศึกษา
วิเวกนั่นแหละ
คำว่า เพราะการประพฤติวิเวกนี้ เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย
อธิบายว่า พระพุทธเจ้า พระพุทธสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสเรียก
ว่า พระอริยะ
การประพฤติวิเวก เป็นกิจยอดเยี่ยม ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด
ประเสริฐสุด ของพระอริยะทั้งหลาย รวมความว่า เพราะการประพฤติวิเวกนี้
เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย
คำว่า ไม่พึงสำคัญตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยการประพฤติวิเวกนั้น
อธิบายว่า ไม่พึงทำการยกตน ไม่พึงทำการอวดตน ไม่พึงทำการถือตัว ไม่พึงทำ
ความแข็งกร้าว ไม่พึงทำความกระด้าง ด้วยการประพฤติวิเวกนั้น คือ ไม่พึงให้เกิด
ความถือตัว ไม่พึงทำความผูกพัน ด้วยการประพฤติวิเวกนั้น ได้แก่ ไม่ควรเป็นคน
แข็งกระด้าง เป็นคนเย่อหยิ่ง เป็นคนหัวสูง ด้วยการประพฤติวิเวกนั้น รวมความว่า
ไม่พึงสำคัญตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยการประพฤติวิเวกนั้น
คำว่า ผู้นั้นแล ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพาน อธิบายว่า ผู้นั้น อยู่ใกล้ คือ อยู่ใกล้ชิด
อยู่ใกล้เคียง อยู่ไม่ไกล เข้าไปใกล้นิพพาน รวมความว่า ผู้นั้นแล ชื่อว่าอยู่ใกล้
นิพพาน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลพึงศึกษาวิเวกนั่นแหละ เพราะการประพฤติวิเวกนี้
เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย
ไม่พึงสำคัญตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยการประพฤติวิเวกนั้น
ผู้นั้นแล ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพาน
[58] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย ย่อมยินดีมุนีผู้ว่าง
ประพฤติอยู่ ไม่มุ่งหวังกามทั้งหลาย ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :192 }