เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 7. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือ
และเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบน
ศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหล
เหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่าง
คบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้ง
แต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอก
และเข่าแล้วเสียบหลาวทั้งห้าทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง
เฉือนเนื้อออกเป็นแว่น ๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง เนื้อ เอ็น ออก
เหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขา
หมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือน
ตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่
กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง เธอจักลำบาก
จักมัวหมอง คือ เศร้าหมอง อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เธอถูกกามตัณหาครอบงำ ถูกกามตัณหาตรึงใจไว้แล้ว เมื่อจะ
แสวงหาโภคทรัพย์ ก็ต้องแล่นเรือออกไปสู่มหาสมุทร ฝ่าหนาว ฝ่าร้อน ถูกสัมผัส
แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานเบียดเบียนเอาบ้าง ถูกความหิว
กระหายกดดันอยู่ ก็ต้องเดินทางไปคุมพรัฐ ตักโกลรัฐ(ตะกั่วป่า) ตักกสิลรัฐ
กาลมุขรัฐ ปุรรัฐ เวสุงครัฐ เวราปถรัฐ ชวารัฐ ตามลิงรัฐ(นครศรีธรรมราช) วังครัฐ
เอฬพันธนรัฐ สุวรรณกูฏรัฐ สุวรรณภูมิรัฐ ตัมพปาณิรัฐ สุปปาทกรัฐ เภรุกัจฉรัฐ
สุรัฏฐรัฐ ภังคโลกรัฐ ภังคณรัฐ ปรมภังคณรัฐ โยนรัฐ ปินรัฐ วินกรัฐ มูลปทรัฐ เดิน
ทางไปยังทะเลทรายที่ต้องหมายด้วยดาว คลานไปด้วยเข่า เดินทางด้วยแพะ เดิน
ทางด้วยแกะ ไปด้วยการตอกหลักผูกเชือกโหนไป ไปด้วยร่ม เดินทางด้วยการตัดไม้
ไผ่ทำพะองสำหรับปีน เดินทางอย่างนก เดินทางอย่างหนู ไปตามซอกเขา ไต่ไปตาม
ลำหวาย เธอก็จักลำบาก จักมัวหมอง คือ เศร้าหมอง อย่างนี้บ้าง
เมื่อแสวงหาไม่ได้ก็ต้องเสวยทุกข์และโทมนัสที่มีการไม่ได้เป็นต้นเหตุ เธอก็จัก
ลำบาก จักมัวหมอง คือ เศร้าหมอง อย่างนี้บ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :188 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 7. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
เธอ เมื่อแสวงหาได้มา และครั้นได้แล้ว ก็ยังต้องเสวยทุกข์และโทมนัส ที่มีการ
ต้องรักษาเป็นมูลเหตุบ้าง ด้วยความหวาดหวั่นว่า "อย่างไรหนอ พระราชาจะไม่พึง
ริบโภคทรัพย์ของเรา โจรจะไม่พึงปล้น ไฟจะไม่พึงไหม้ น้ำจะไม่พึงพัดพาไป ทายาท
ที่ไม่เป็นที่รักจะไม่พึงลักเอาไป" เมื่อรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ โภคทรัพย์ ย่อมเสื่อม
ค่าลง เธอต้องเสวยทุกข์และโทมนัส ที่มีความพลัดพรากเป็นมูล ก็จักลำบาก จัก
มัวหมอง คือ เศร้าหมอง อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม
ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุ(ในเบื้องต้น) ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต
อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว
ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม
ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น
[56] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
มุนีรู้โทษนี้แล้ว ในคราวเป็นคฤหัสถ์ก่อนบวชในธรรมวินัยนี้
พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง ไม่พึงเข้าไปเสพเมถุนธรรม

ว่าด้วยปฏิปทาของมุนี
คำว่า นี้ ในคำว่า มุนีรู้โทษนี้แล้ว ในคราวเป็นคฤหัสถ์ก่อนบวชในธรรมวินัย
นี้ อธิบายว่า ยศ และเกียรติ ในเบื้องต้น คือ ในคราวที่เป็นสมณะ ความเสื่อมยศ
ความเสื่อมเกียรติ ของเธอผู้บอกลาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมา
เป็นคฤหัสถ์ในเวลาต่อมา คือ(รู้)วิบัติแห่งสมบัตินี้
คำว่า รู้แล้ว ได้แก่ รู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว
ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ...
ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี1

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 14/68-71

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :189 }