เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 7. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
5. ปิดบังความพอใจ
6. ปิดบังความชอบใจ
7. ปิดบังความสำคัญ
8. ปิดบังความจริง
มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ 8 อย่างเหล่านี้
คำว่า ย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ ได้แก่ ย่อมก้าวลง คือ ย่อมหยั่งลง
หยั่งลงเฉพาะ เข้าถึงความเป็นคนพูดเท็จ รวมความว่า ย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคน
พูดเท็จ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือนแล้ว
ย่อมสร้างศัสตรา เธอย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ
นี้แหละเป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ของเธอ
[55] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุ (ในเบื้องต้น) ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต
อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว
ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม
ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น

ว่าด้วยต้นตรงปลายคด
คำว่า ภิกษุ(ในเบื้องต้น)ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต อธิบายว่า ภิกษุ
บางรูปในธรรมวินัยนี้ ได้รับการสรรเสริญเกียรติคุณว่า เป็นบัณฑิต คือ เป็นผู้ฉลาด
มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณดี เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้
ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง ... เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติบ้าง ในเบื้องต้น คือ ในคราวที่เป็นสมณะ ซึ่งผู้คนรู้จักกัน รู้จักกันทั่ว ชื่อว่า
ได้สมญานามอย่างนี้ รวมความว่า ภิกษุ(ในเบื้องต้น)ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต
คำว่า อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว อธิบายว่า ได้อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว
ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :186 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 7. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
1. ด้วยการบวช 2. ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
ภิกษุอธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการบวช เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุตัดความกังวลเรื่องการครองเรือนทั้งหมด ... ภิกษุอธิษฐานการเที่ยว
ไปผู้เดียวด้วยการบวช เป็นอย่างนี้1
ภิกษุอธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็น
อย่างไร
คือ ภิกษุนั้น เมื่อเป็นนักบวชแล้วอย่างนี้ผู้เดียว ก็ใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่า
ละเมาะและป่าทึบ อันสงัด ... ภิกษุอธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการละความคลุกคลี
ด้วยหมู่คณะ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว2
คำว่า ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม อธิบายว่า ธรรมเนียมของอสัตบุรุษ
คือ ธรรมเนียมของชาวบ้าน ... ชื่อว่าเมถุนธรรม เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า
เมถุนธรรม3
คำว่า ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม อธิบายว่า ต่อมา เธอก็บอกลา
พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ประกอบ คือ ประกอบทั่ว
ประกอบทั่วถึง ประกอบพร้อมในเมถุนธรรม รวมความว่า ต่อมา เธอประกอบใน
เมถุนธรรม

ว่าด้วยการลงโทษ
คำว่า ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น อธิบายว่า จักลำบาก จัก
มัวหมอง คือ เศร้าหมอง เหมือนคนกำพร้า คนโง่ คนลุ่มหลง คือ ฆ่าสัตว์บ้าง
ลักทรัพย์บ้าง ตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมยยกเค้าบ้าง ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยว
บ้าง ละเมิดภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง จักลำบาก จักมัวหมอง คือ เศร้าหมอง
แม้อย่างนี้ พระราชาก็รับสั่งให้จับเขาลงอาญาด้วยประการต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 51/177
2 ดูรายละเอียดข้อ 51/177
3 ดูรายละเอียดข้อ 49/168

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :187 }