เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 7. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คำว่า เห็นแล้ว ได้แก่ แลเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้
กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว รวมความว่า เห็นสมบัติและวิบัตินี้แล้ว

ว่าด้วยสิกขา 3
คำว่า พึงศึกษา ได้แก่ สิกขา 3 คือ (1) อธิสีลสิกขา (2) อธิจิตตสิกขา
(3) อธิปัญญาสิกขา
อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ สมบูรณ์
ด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท
ทั้งหลายอยู่ คือ สีลขันธ์เล็ก1 สีลขันธ์ใหญ่2 ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความ
ประพฤติ เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธานเพื่อความถึง
พร้อมแห่งธรรมที่เป็นกุศล นี้ชื่อว่าอธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจาร สงบระงับไปแล้ว
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี
วิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิดจากสมาธิอยู่ ... บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌานที่ไม่
มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ
หยั่งถึงความเกิดและความดับ เพิกถอนกิเลส ให้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกข์" เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกขสมุทัย" เธอรู้

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถข้อ 10/48
2 ดูเชิงอรรถข้อ 10/48

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :181 }