เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 7. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ... มนุษยโลก1 รวมความว่า ผู้นั้น ... ในโลก
เหมือนยานที่แล่นไป ฉะนั้น
คำว่า ปุถุชน ในคำว่า ผู้รู้ทั้งหลายเรียก ... ว่า เป็นปุถุชนเลว อธิบายว่า
ชื่อว่าปุถุชน เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าปุถุชน เพราะให้กิเลสหยาบเกิดขึ้น
ชื่อว่าปุถุชน เพราะมีสักกายทิฏฐิอันหนาแน่นยังละไม่ได้ ชื่อว่าปุถุชน เพราะ
ปฏิญญาต่อหน้าศาสดาหลายองค์ ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกคติทุกอย่างร้อยรัดไว้มาก
ชื่อว่าปุถุชน เพราะปรุงแต่งอภิสังขารต่าง ๆ เป็นอันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูก
โอฆะกิเลสต่าง ๆ เป็นอันมากพัดพาไป ชื่อว่าปุถุชน เพราะเดือดร้อนด้วยความ
เดือดร้อนต่าง ๆ เป็นอันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกความเร่าร้อนต่าง ๆ เป็นอันมาก
แผดเผา ชื่อว่าปุถุชน เพราะกำหนัด ยินดี ติดใจ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพัน
ในกามคุณ 5 เป็นอันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกนิวรณ์ 5 อย่างเป็นอันมาก หุ้มห่อ
โอบล้อม ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม บดบัง
คำว่า ผู้รู้ทั้งหลายเรียก ... ว่า เป็นปุถุชนเลว อธิบายว่า ผู้รู้ทั้งหลายเรียก
คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง อย่างนี้ว่า เป็นปุถุชนเลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ
หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า ผู้รู้ทั้งหลายเรียก ... ว่า เป็นปุถุชนเลว ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ผู้ใดในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวแล้ว
(ต่อมา)เข้าไปเสพเมถุนธรรม ผู้รู้ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า
เป็นปุถุชนเลวในโลก เหมือนยานที่แล่นไป ฉะนั้น
[52] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ยศและเกียรติในเบื้องต้นของภิกษุนั้นเสื่อมไป
ภิกษุเห็นสมบัติและวิบัตินี้แล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรม

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 3/12

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :179 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 7. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
ว่าด้วยยศและเกียรติ
คำว่า ยศและเกียรติในเบื้องต้นของภิกษุนั้นเสื่อมไป อธิบายว่า
ยศ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
นอบน้อม ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ในเบื้องต้น
คือ ในคราวที่เป็นสมณะ นี้ชื่อว่ายศ
เกียรติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้รับการสรรเสริญเกียรติคุณว่า เป็น
บัณฑิต เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณดี เป็นผู้ทรง
จำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้อยู่ป่า
เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง
เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้
งดฉันอาหารมื้อหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ใน
เสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง
เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ
บ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง
เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง ในเบื้องต้น คือ ในคราวที่เป็นสมณะ
นี้ชื่อว่าเกียรติ รวมความว่า ยศและเกียรติในเบื้องต้น
คำว่า ... ของภิกษุนั้นเสื่อมไป อธิบายว่า ต่อมา ภิกษุบอกลาพระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ยศและเกียรตินั้นของเธอ ย่อมเสื่อมไป
คือ เสียไป สิ้นไป หมดไป สูญหาย สลายไป รวมความว่า ยศและเกียรติในเบื้องต้น
ของภิกษุนั้นเสื่อมไป
คำว่า นี้ ในคำว่า ภิกษุเห็นสมบัติและวิบัตินี้แล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรม
อธิบายว่า ยศและเกียรติในเบื้องต้น คือ ในคราวที่เป็นสมณะ ความเสื่อมยศ ความ
เสื่อมเกียรติของเธอ ผู้บอกลาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมาเป็น
คฤหัสถ์ในเวลาต่อมา คือ (เห็น)สมบัติและวิบัตินี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :180 }