เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 7. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าว
โดยความเคารพ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพ คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้
เป็นคำกล่าวแสดงความยำเกรง รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกความคับแค้น
คำว่า ฟังคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว อธิบายว่า ฟังแล้ว คือ สดับแล้ว
เรียนแล้ว ทรงจำแล้ว กำหนดแล้วซึ่งพระดำรัส คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน
คำพร่ำสอนของพระองค์ รวมความว่า ฟังคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว

ว่าด้วยวิเวก 3
คำว่า พวกข้าพระองค์ ... จักศึกษาวิเวก อธิบายว่า
คำว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก 3 อย่าง คือ (1) กายวิเวก (ความสงัดกาย)
(2) จิตตวิเวก (ความสงัดใจ) (3) อุปธิวิเวก (ความสงัดอุปธิ)
กายวิเวก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมใช้สอยเสนาสนะที่สงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา
ซอกเขา ช่องเขา สุสาน ป่าดงดิบ กลางแจ้ง ลอมฟาง และมีกายสงัดอยู่ คือ เดินรูป
เดียว ยืนรูปเดียว นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว เข้าหมู่บ้านบิณฑบาตรูปเดียว กลับรูป
เดียว นั่งในที่ลับรูปเดียว อธิษฐานจงกรมรูปเดียว เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปลำพังรูปเดียว นี้ชื่อว่ากายวิเวก
จิตตวิเวก เป็นอย่างไร
คือ ผู้บรรลุปฐมฌานย่อมมีจิตสงัดจากนิวรณ์ ผู้บรรลุทุติยฌานย่อมมีจิตสงัด
จากวิตกและวิจาร ผู้บรรลุตติยฌานย่อมมีจิตสงัดจากปีติ ผู้บรรลุจตุตถฌานย่อมมี
จิตสงัดจากสุขและทุกข์ ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมมีจิตสงัดจาก
รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมมีจิต
สงัดจากอากาสนัญจายตนสัญญา ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมมีจิตสงัด
จากวิญญาณัญจายตนสัญญา ผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมมีจิต
สงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :170 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 7. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
ผู้เป็นพระโสดาบัน ย่อมมีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระสกทาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่าง
หยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับ
กามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระอนาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่าง
ละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวก
เดียวกับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระอรหันต์ ย่อมมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับรูป
ราคะเป็นต้นนั้น และสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก
อุปธิวิเวก เป็นอย่างไร
คือ กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ตรัสเรียกว่า อุปธิ อมตนิพพาน ตรัส
เรียกว่า อุปธิวิเวก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด
เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท นี้ชื่อว่า
อุปธิวิเวก
กายวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดีในเนกขัมมะ จิตตวิเวก
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงความเป็นผู้ผ่องแผ้วยิ่ง และอุปธิเวกย่อมมีแก่
บุคคลผู้ปราศจากอุปธิ บรรลุนิพพานอันปราศจากปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
คำว่า พวกข้าพระองค์ ... จักศึกษาวิเวก อธิบายว่า พระเถระนั้นศึกษาสิกขา
แล้วโดยปกติ อีกนัยหนึ่ง มุ่งหมายพระธรรมเทศนา ทูลขอพระธรรมเทศนา จึงกราบ
ทูลอย่างนี้ว่า พวกข้าพระองค์ ... จักศึกษาวิเวก ด้วยเหตุนั้น พระติสสเมตเตยยเถระ
จึงกราบทูลว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :171 }