เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 1. กามสุตตนิทเทส
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากดี ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ความเจ็บป่วยที่เกิด
จากลม ไข้สันนิบาต ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ความเจ็บป่วยที่
เกิดจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความ
พากเพียรเกินกำลัง ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม ความหนาว ความร้อน
ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากสัมผัส
แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ
อันตรายที่ไม่ปรากฏ คืออะไร
คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์(สิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้า
ในคุณธรรม คือความพอใจในกาม) พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าใน
คุณธรรม คือความคิดปองร้าย) ถีนมิทธนิวรณ์(สิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม
คือความหดหู่และเซื่องซึม) อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์(สิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม
คือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) วิจิกิจฉานิวรณ์(สิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม
คือความลังเลสงสัย) ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ(ความโกรธ) อุปนาหะ(ความผูกโกรธ)
มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ปฬาสะ(ความตีเสมอ) อิสสา(ความริษยา) มัจฉริยะ
(ความตระหนี่) มายา(ความหลอกลวง) สาเถยยะ(ความโอ้อ้วด) ถัมภะ(ความหัวดื้อ)
สารัมภะ(ความแข่งดี) มานะ(ความถือตัว) อติมานะ(ความดูหมิ่น) มทะ(ความ
มัวเมา) ปมาทะ(ความประมาท) กิเลสทุกชนิด ทุจริตทุกทาง ความกระวนกระวาย
ทุกอย่าง ความเร่าร้อนทุกสถาน ความเดือดร้อนทุกประการ อกุสลาภิสังขาร1
ทุกประเภท เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ไม่ปรากฏ
คำว่า อันตรายทั้งหลาย อธิบายว่า ชื่อว่าอันตราย เพราะมีความหมาย
อย่างไร ชื่อว่าอันตราย เพราะครอบงำ ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม
ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ

เชิงอรรถ :
1 อกุสลาภิสังขาร คือสภาพที่ปรุงแต่งผลแห่งการกระทำของบุคคลในกรรมที่ชั่ว เป็นอกุศลกรรม ได้แก่
อกุศลเจตนา (ขุ.ม.อ. 5/62)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :17 }