เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
คำว่า ความคร่ำครวญ ได้แก่ ความบ่นเพ้อ ความคร่ำครวญ กิริยาที่บ่นเพ้อ
กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่บ่นเพ้อ ภาวะที่คร่ำครวญ การพูดพล่าม การพูดเพ้อ
การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ ของผู้ถูกความเสีย
หายของญาติกระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบบ้าง ถูกความเสีย
หายเพราะโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบ
กับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าว
แล้วกระทบบ้าง
คำว่า ความตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ 5 อย่าง คือ
1. อาวาสมัจฉริยะ 2. กุลมัจฉริยะ
3. ลาภมัจฉริยะ 4. วัณณมัจฉริยะ
5. ธัมมมัจฉริยะ
คือ ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความ
ถี่เหนี่ยว ความที่จิตเจ็บร้อน(ในการให้) ความที่จิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า
ความตระหนี่
อีกนัยหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะ
ก็ดี ความมุ่งแต่จะได้ก็ดี นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่
คำว่า ไม่ติดอยู่ ... เหมือนหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว ฉะนั้น อธิบายว่า
ใบของบัวตรัสเรียกว่า ใบบัว น้ำตรัสเรียกว่า หยาดน้ำ ความคร่ำครวญและความ
ตระหนี่ ไม่ติด คือ ไม่ติดแน่น ไม่ติดพัน ได้แก่ เป็นสภาพไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว
ไม่ติดพันแล้ว ในบุคคลผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพนั้น เหมือนหยาดน้ำ ไม่ติด คือ
ไม่ติดแน่น ไม่ติดพัน ได้แก่ เป็นของไม่ติดแล้ว เป็นของไม่ติดแน่นแล้ว เป็นของ
ไม่ติดพันแล้วบนใบบัว ฉะนั้น
อนึ่ง บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์นั้น ไม่ติด คือ ไม่ติดแน่น ไม่ติดพัน ได้แก่ เป็น
ผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว
ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับกิเลสเหล่านั้น มีใจเป็นอิสระอยู่ รวมความว่า ความคร่ำครวญ
และความตระหนี่ ไม่ติดอยู่ในมุนีนั้น เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว ฉะนั้น ด้วยเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :163 }