เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น มุนีผู้เห็นแดนเกษม ละความ
ยึดถือได้แล้วเที่ยวไป ได้แก่ เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น
เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น เมื่อเห็นโทษนี้ในการยึดถือว่าเป็นของเรา รวม
ความว่า เพราะฉะนั้น

ว่าด้วยโมเนยยธรรม 3 ประการ
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ...
ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ1 ผู้ประกอบด้วยญาณนั้น
ชื่อว่ามุนี คือ ผู้บรรลุโมนญาณแล้ว โมเนยยธรรม(ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี) มี 3 ประการ
คือ
1. โมเนยยธรรมทางกาย 2. โมเนยธรรมทางวาจา
3. โมเนยยธรรมทางใจ ...
ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี2
คำว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ 2 อย่าง คือ (1) ความยึดถือด้วย
อำนาจตัณหา (2) ความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจ
ตัณหา ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ3
มุนีละความยึดถือด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความยึดถือด้วยอำนาจ
ทิฏฐิได้แล้ว ละ คือ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก เที่ยวไป
ได้แก่ ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป
คำว่า ผู้เห็นแดนเกษม อธิบายว่า อมตนิพพาน ตรัสเรียกว่า แดนเกษม คือ
ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่
คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 21/92
2 ดูรายละเอียดข้อ 14/68-69
3 เทียบกับความในข้อ 12/58-59

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :157 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
คำว่า ผู้เห็นแดนเกษม ได้แก่ ผู้เห็นแดนเกษม คือ เห็นที่ปกป้อง เห็นที่
หลีกเร้น เห็นที่พึ่ง เห็นที่ไม่มีภัย เห็นที่ไม่จุติ เห็นอมตธรรม เห็นนิพพาน รวม
ความว่า เพราะฉะนั้น มุนีผู้เห็นแดนเกษม ละความยึดถือได้แล้ว เที่ยวไป ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ชนทั้งหลาย ผู้ติดใจในวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ย่อมละทิ้งความเศร้าโศก ความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ได้
เพราะฉะนั้น มุนีผู้เห็นแดนเกษม ละความยึดถือได้แล้ว เที่ยวไป
[45] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพ
ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น ใช้ที่นั่งอันสงัดนั้นว่า
เป็นความสามัคคี

ว่าด้วยผู้ประพฤติหลีกเร้น
คำว่า ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น อธิบายว่า พระเสขะ 7 จำพวก ตรัส
เรียกว่าผู้ประพฤติหลีกเร้น (ส่วน)พระอรหันต์ ชื่อว่าผู้หลีกเร้นแล้ว
เพราะเหตุไร พระเสขะ 7 จำพวก จึงตรัสเรียกว่า ผู้ประพฤติหลีกเร้น
พระเสขะเหล่านั้น ให้จิตหลีกเร้น ถอยกลับ หมุนกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา
คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้น เที่ยวไป ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป คือให้จิตหลีกเร้น ถอยกลับ หมุนกลับ ปิดกั้น ข่ม
ห้าม รักษา คุ้มครองจิต ในจักขุทวาร เที่ยวไป ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป คือให้จิตหลีกเร้น ถอยกลับ ปิดกั้น ข่ม
ห้าม รักษา คุ้มครองจิต ในโสตทวาร ... ในฆานทวาร ... ในชิวหาทวาร ... ใน
กายทวาร ... ในมโนทวาร ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :158 }