เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
[44] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ชนทั้งหลาย ผู้ติดใจในวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ย่อมละทิ้งความเศร้าโศก ความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ได้
เพราะฉะนั้น มุนีผู้เห็นแดนเกษม ละความยึดถือได้แล้ว เที่ยวไป
คำว่า ชนทั้งหลาย ผู้ติดใจในวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมละทิ้งความ
เศร้าโศก ความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ได้ อธิบายว่า
คำว่า ความเศร้าโศก ได้แก่ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก
ความเศร้าโศกภายใน ความเศร้าโศกมากภายใน ความหม่นไหม้ภายใน ความเร่า
ร้อนภายใน ความหม่นไหม้แห่งจิต ความทุกข์ใจ ลูกศรคือความเศร้าโศกของผู้ถูก
ความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบบ้าง ถูก
ความเสียหายเพราะโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง
ประจวบกับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่น
นอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง
คำว่า ความคร่ำครวญ ได้แก่ ความบ่นเพ้อ ความคร่ำครวญ กิริยาที่
บ่นเพ้อ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่บ่นเพ้อ ภาวะที่คร่ำครวญ การพูดพล่าม
การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ
ของผู้ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ... ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบ
กับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่
กล่าวแล้วกระทบบ้าง

ว่าด้วยความตระหนี่ 5 อย่าง
คำว่า ความตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ 5 อย่าง คือ
1. อาวาสมัจฉริยะ 2. กุลมัจฉริยะ
3. ลาภมัจฉริยะ 4. วัณณมัจฉริยะ
5. ธัมมมัจฉริยะ
ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความถี่เหนียว
ความที่จิตเจ็บร้อน(ในการให้) ความที่จิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความ
ตระหนี่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :155 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะ
ก็ดี ความมุ่งแต่จะได้ก็ดี นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่
ตัณหา ตรัสเรียกว่าความติดใจ คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ1
คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา 2 อย่าง
คือ (1) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (2) ความยึดถือว่าเป็นของเรา
ด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่า
ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ2
ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเราจะถูกแย่งชิงไปย่อมเศร้า
โศกบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังถูกแย่งชิงไปย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูกแย่งชิงไป
แล้วย่อมเศร้าโศกบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเราจะ
แปรผันไปย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรผันไปย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุ
นั้นแปรผันไปแล้วย่อมเศร้าโศกบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าวัตถุที่ยึดถือว่า
เป็นของเราจะถูกแย่งชิงไปย่อมคร่ำครวญบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังถูกแย่งชิงไปย่อม
คร่ำครวญบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูกแย่งชิงไปแล้วย่อมคร่ำครวญบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาด
ระแวงว่าวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเราจะแปรผันไปย่อมคร่ำครวญบ้าง เมื่อวัตถุนั้น
กำลังแปรผันไป ย่อมคร่ำครวญบ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรผันไปแล้วก็ย่อมคร่ำครวญบ้าง
ชนทั้งหลายย่อมรักษา ปกป้อง ถือครอง ยึดถือ สิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ประพฤติตระหนี่ว่า เป็นของเรา ย่อมเศร้าโศก เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
จึงละความเศร้าโศกไม่ได้ ละความคร่ำครวญไม่ได้ ละความตระหนี่ไม่ได้ ละความ
ติดใจไม่ได้ ละไม่ได้ คือ ละเว้นไม่ได้ บรรเทาไม่ได้ ทำให้หมดสิ้นไปไม่ได้ ให้ถึง
ความไม่มีอีกไม่ได้ รวมความว่า ชนทั้งหลาย ผู้ติดใจในวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ย่อมละทิ้งความเศร้าโศก ความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ได้

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 3/10-11
2 ดูรายละเอียดข้อ 12/58-59

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :156 }