เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
ว่าด้วยสิ่งต่าง ๆ สลายไปเหลือแต่ชื่อ
คำว่า ยังเห็นกันอยู่ ในคำว่า ชนเหล่านั้นยังเห็นกันอยู่บ้าง ยังได้ยินกันอยู่
บ้าง ได้แก่ ผู้มีรูปที่รู้กันได้ด้วยจักขุวิญญาณ
คำว่า ยังได้ยินกันอยู่ ได้แก่ ผู้มีชื่อเสียงที่รู้กันได้ด้วยโสตวิญญาณ
คำว่า ชนเหล่านั้น ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต
เทวดา และมนุษย์ รวมความว่า ชนเหล่านั้นยังเห็นกันอยู่บ้าง ยังได้ยินกันอยู่บ้าง
คำว่า ของชนเหล่าใด ในคำว่า ชื่อของชนเหล่าใดที่กล่าวกันอยู่นี้ ได้แก่
ของกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์เหล่าใด
คำว่า ชื่อ ได้แก่ การกล่าวถึง การขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน
ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะ
คำว่า ที่กล่าวกันอยู่ ได้แก่ ที่เรียก ที่กล่าวกันอยู่ คือ ที่พูด ที่บอก ที่แสดง
ที่ชี้แจงกันอยู่ รวมความว่า ชื่อของชนเหล่าใดที่กล่าวกันอยู่นี้
คำว่า เหลือไว้แต่ชื่อเท่านั้น เพื่อกล่าวขานกัน อธิบายว่า ขันธ์ที่เป็นรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ บุคคลย่อมละ ละเว้น ละขาด สูญหาย สลายไป
ก็ยังเหลือไว้แต่ชื่อเท่านั้น
คำว่า เพื่อกล่าวขานกัน ได้แก่ เพื่อกล่าวขานกัน คือ เพื่อพูด บอก แสดง
ชี้แจง รวมความว่า เหลือไว้แต่ชื่อเท่านั้น เพื่อกล่าวขานกัน
คำว่า จากไปแล้ว ในคำว่า สัตว์เกิดจากไปแล้ว ได้แก่ ตายแล้ว ทำกาละแล้ว
คำว่า สัตว์เกิด ได้แก่ สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด
ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ รวมความว่า สัตว์เกิดจากไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
ชื่อของชนเหล่าใดที่กล่าวกันอยู่นี้
ชนเหล่านั้นยังเห็นกันอยู่บ้าง ยังได้ยินกันอยู่บ้าง
สัตว์เกิดจากไปแล้วเหลือไว้แต่ชื่อเท่านั้น เพื่อกล่าวขานกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :154 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
[44] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ชนทั้งหลาย ผู้ติดใจในวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ย่อมละทิ้งความเศร้าโศก ความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ได้
เพราะฉะนั้น มุนีผู้เห็นแดนเกษม ละความยึดถือได้แล้ว เที่ยวไป
คำว่า ชนทั้งหลาย ผู้ติดใจในวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมละทิ้งความ
เศร้าโศก ความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ได้ อธิบายว่า
คำว่า ความเศร้าโศก ได้แก่ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก
ความเศร้าโศกภายใน ความเศร้าโศกมากภายใน ความหม่นไหม้ภายใน ความเร่า
ร้อนภายใน ความหม่นไหม้แห่งจิต ความทุกข์ใจ ลูกศรคือความเศร้าโศกของผู้ถูก
ความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบบ้าง ถูก
ความเสียหายเพราะโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง
ประจวบกับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่น
นอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง
คำว่า ความคร่ำครวญ ได้แก่ ความบ่นเพ้อ ความคร่ำครวญ กิริยาที่
บ่นเพ้อ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่บ่นเพ้อ ภาวะที่คร่ำครวญ การพูดพล่าม
การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ
ของผู้ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ... ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบ
กับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่
กล่าวแล้วกระทบบ้าง

ว่าด้วยความตระหนี่ 5 อย่าง
คำว่า ความตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ 5 อย่าง คือ
1. อาวาสมัจฉริยะ 2. กุลมัจฉริยะ
3. ลาภมัจฉริยะ 4. วัณณมัจฉริยะ
5. ธัมมมัจฉริยะ
ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความถี่เหนียว
ความที่จิตเจ็บร้อน(ในการให้) ความที่จิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความ
ตระหนี่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :155 }