เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
สำคัญเพราะความสำคัญด้วยอำนาจมานะ ย่อมสำคัญเพราะความสำคัญด้วยอำนาจ
กิเลส ย่อมสำคัญเพราะความสำคัญด้วยอำนาจทุจริต ย่อมสำคัญเพราะความสำคัญ
ด้วยอำนาจกิเลสเครื่องประกอบ ย่อมสำคัญเพราะความสำคัญด้วยอำนาจวิบาก
รวมความว่า บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา
คำว่า บัณฑิต ... รู้ชัดโทษนี้แล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว
พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งโทษนี้ ในเบญจขันธ์ที่ยึดถือ
ว่าเป็นของเรา รวมความว่า รู้ชัดโทษนี้แล้ว
คำว่า บัณฑิต ได้แก่ นักปราชญ์ บัณฑิต ผู้มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้
มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า บัณฑิต ...
รู้ชัดโทษนี้แล้ว
คำว่า ผู้เป็นพุทธมามกะ ... ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา
อธิบายว่า
คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา 2 อย่าง
คือ (1) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (2) ความยึดถือว่าเป็นของเรา
ด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่า
ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ1
คำว่า ผู้เป็นพุทธมามกะ ได้แก่ ผู้นับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ผู้นั้นย่อมนับถือพระผู้มีพระภาคว่าเป็นของเรา พระผู้มีพระภาคก็ทรงรับรอง
บุคคลนั้น
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นคน
คดโกง แข็งกระด้าง พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่มั่นคง ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้น มิใช่ผู้นับถือเรา เป็นผู้ไปจากธรรมวินัยนี้แล้ว และภิกษุเหล่านั้นจะไม่
ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ส่วนภิกษุเหล่าใด ไม่คดโกง ไม่พูด
พล่อย เป็นนักปราชญ์ ไม่แข็งกระด้าง มีจิตมั่นคง ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้นับถือเรา
เป็นผู้ไม่ไปจากธรรมวินัยนี้ และภิกษุเหล่านั้นจะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้"2

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 12/58-59
2 องฺ.จตุกฺก. 21/26/31, ขุ.อิติ. 25/108/326-327

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :151 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
ภิกษุทั้งหลาย ผู้คดโกง แข็งกระด้าง
พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่มั่นคง
ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแล้ว
(ส่วน)ภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่คดโกง ไม่พูดพล่อย
เป็นนักปราชญ์ ไม่แข็งกระด้าง มีจิตมั่นคง
ย่อมงอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแล้ว1
คำว่า ผู้เป็นพุทธมามกะ ... ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา
อธิบายว่า ผู้เป็นพุทธมามกะละความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว
สลัดทิ้งความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว ไม่พึงน้อมไป คือ ไม่พึง
โน้มไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ไม่พึงเป็นผู้เอนไปในความยึดถือว่าเป็น
ของเรานั้น ไม่พึงเป็นผู้โอนไปในความยึดถือว่าเป็นของเรานั้น ไม่พึงเป็นผู้โน้ม
ไปในความยึดถือว่าเป็นของเรานั้น ไม่พึงเป็นผู้น้อมใจไปในความยึดถือว่าเป็นของ
เรานั้น ไม่พึงเป็นผู้มีความยึดถือว่าเป็นของเรานั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า ผู้เป็น
พุทธมามกะ ... ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา
เบญจขันธ์นั้นบุรุษนั้นย่อมละไปเพราะความตาย
บัณฑิตผู้เป็นพุทธมามกะ รู้ชัดโทษนี้แล้ว
ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา
[42] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุรุษผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็นสิ่งที่เกี่ยวข้องด้วยความฝัน ฉันใด
ใคร ๆ ย่อมไม่เห็นชนผู้เป็นที่รัก ซึ่งตายจากไปแล้ว ฉันนั้น

เชิงอรรถ :
1 องฺ.จตุกฺก. 21/26/31, ขุ.อิติ. 25/108/327

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :152 }