เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
เป็นธรรมดา ขออย่าได้แตกสลายไปเลย จะพึงหาได้จากที่ไหนในโลกนี้เล่า ข้อนั้น
ไม่ใช่ฐานะจะมีได้ ขันธ์ ธาตุ อายตนะก่อน ๆ แปรผันเป็นอื่นไป ขันธ์ ธาตุ
อายตนะที่เกิดหลัง ๆ ก็ย่อมเป็นไป1]" รวมความว่า ความพลัดพรากจากกันนี้
เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า กุลบุตรเห็นดังนี้แล้วก็ไม่พึงครองเรือน เป็นบทสนธิ
เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความ
สละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ดังนี้ นี้เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า เห็นดังนี้แล้ว ได้แก่ เห็นแล้ว คือ มองเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว
พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็น
ของเรา ดังนี้ รวมความว่า เห็นดังนี้แล้ว
คำว่า ก็ไม่พึงครองเรือน อธิบายว่า พึงตัดความกังวลเรื่องการครองเรือน
ตัดความกังวลเรื่องบุตรภรรยา ตัดความกังวลเรื่องญาติ ตัดความกังวลเรื่องมิตร
อำมาตย์ ตัดความกังวลเรื่องการสะสมทั้งหมด โกนผมและหนวดแล้ว นุ่งห่มผ้า
กาสาวะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความไม่กังวลแล้ว เที่ยวไป อยู่
เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว รวมความว่า
กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ก็ไม่พึงครองเรือน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ชนทั้งหลาย ย่อมเศร้าโศกเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
เพราะความยึดถือที่เที่ยงแท้ไม่มีอยู่
ความพลัดพรากจากกันนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ก็ไม่พึงครองเรือน
[41] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา
เบญจขันธ์นั้นบุรุษนั้นย่อมละไปเพราะความตาย
บัณฑิตผู้เป็นพุทธมามกะ รู้ชัดโทษนี้แล้ว
ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา

เชิงอรรถ :
1 ที.ม. 10/207/126

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :149 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
ว่าด้วยการยึดถือเบญจขันธ์
คำว่า เบญจขันธ์นั้นบุรุษนั้นย่อมละไปเพราะความตาย อธิบายว่า
คำว่า ความตาย ได้แก่ การจุติ การเคลื่อนจากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า
สัตว์นั้น ๆ ความทำลาย ความหายไป มัจจุ ความตาย กาลกิริยา การทำลายขันธ์
การทอดทิ้งซากศพไว้ การตัดขาดชีวิตินทรีย์
คำว่า เบญจขันธ์นั้น ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
คำว่า ย่อมละไป ได้แก่ เบญจขันธ์นั้นบุรุษนั้นย่อมละไป คือ ละทิ้ง ละขาด
สูญหาย สลายไป สมจริงดังภาษิตนี้ว่า
โภคทรัพย์ย่อมละบุคคลไปก่อนบ้าง
บุคคลย่อมละโภคทรัพย์ไปก่อนบ้าง
โจรราชผู้ใคร่กาม1 หมู่ชนผู้มีโภคทรัพย์ เป็นผู้ไม่เที่ยง
เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก
ดวงจันทร์ขึ้นเต็มดวงแล้วก็ลับไป
ดวงอาทิตย์กำจัดความมืดแล้วก็ลับไป
ศัตรูเอ๋ย เรารู้จักโลกธรรมแล้ว
เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก2
คำว่า เบญจขันธ์ใด ในคำว่า บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา
เบญจขันธ์นั้น บุรุษนั้นย่อมละไปเพราะความตาย ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ
คำว่า บุรุษ ได้แก่ การกล่าวถึง การขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน
ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะ
คำว่า ย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา อธิบายว่า ย่อมสำคัญเพราะ
ความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา ย่อมสำคัญเพราะความสำคัญด้วยอำนาจทิฏฐิ ย่อม

เชิงอรรถ :
1 โจรราชผู้ใคร่กาม เป็นชื่อของพระราชาองค์หนึ่ง ในมณิกุณฑลชาดก (ขุ.ชา.อ. 4/2-3/366-367,
ขุ.ม.อ. 41/249)
2 ขุ.ชา. 27/2-3/124

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :150 }