เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์น้อย
จำต้องไปสู่ปรโลก ต้องประสบกับความตายที่เข้าใจกันอยู่ ควรทำกุศล ประพฤติ
พรหมจรรย์ ผู้ที่เกิดมาแล้วไม่ตายไม่มี ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมีชีวิตยืนนาน ผู้นั้นก็อยู่
ได้เพียง 100 ปี หรืออยู่ได้เกินกว่านั้นก็มีน้อย"
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
มนุษย์มีอายุน้อย บุคคลผู้ฉลาดพึงดูหมิ่นชีวิตที่น้อยนั้น
พึงเร่งประพฤติธรรมเหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น
เพราะความตายจะไม่มาถึงไม่มี1
วันคืนล่วงเลยไป ชีวิตก็ใกล้หมดสิ้นไป
อายุของสัตว์ทั้งหลายก็หมดสิ้นไป
เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยจะแห้งไป ฉะนั้น2
รวมความว่า ชีวิตนี้น้อยนัก
คำว่า มนุษย์ย่อมตายภายใน 100 ปี อธิบายว่า มนุษย์ย่อมเคลื่อน ตาย
สูญหาย สลายไป ในขณะที่เป็นกลละ(น้ำใส)บ้าง ... ในขณะที่เป็นอัพพุทะ(น้ำล้าง
เนื้อ)บ้าง ... ในขณะที่เป็นเปสิ(ชิ้นเนื้อ)บ้าง ... ในขณะที่เป็นฆนะ(ก้อนเนื้อ)บ้าง ...
ในขณะที่เป็นปัญจสาขา(5 ปุ่ม คือมือ 2 เท้า 2 ศีรษะ 1)บ้าง ขณะคลอด
ย่อมเคลื่อน ตาย สูญหาย สลายไปบ้าง ย่อมเคลื่อน ตาย สูญหาย สลายไป
ในเรือนคลอดบ้าง มีอายุเพียงครึ่งเดือน ย่อมเคลื่อน ตาย สูญหาย สลายไปบ้าง
มีอายุ 1 เดือน ... มีอายุ 2 เดือน ... มีอายุ 3 เดือน ... มีอายุ 4 เดือน ...
มีอายุ 5 เดือน ... มีอายุ 6 เดือน ... มีอายุ 7 เดือน ... มีอายุ 8 เดือน ...
มีอายุ 9 เดือน ... มีอายุ 10 เดือน ... มีอายุ 1 ปี ... มีอายุ 2 ปี ... มีอายุ 3 ปี ...
มีอายุ 4 ปี ... มีอายุ 5 ปี ... มีอายุ 6 ปี ... มีอายุ 7 ปี ... มีอายุ 8 ปี ... มีอายุ 9
ปี ... มีอายุ 10 ปี ... มีอายุ 20 ปี ... มีอายุ 30 ปี ... มีอายุ 40 ปี ... มีอายุ 50 ปี
... มีอายุ 60 ปี ... มีอายุ 70 ปี ... มีอายุ 80 ปี ... มีอายุ 90 ปี ย่อมเคลื่อน
ตาย สูญหาย สลายไปบ้าง รวมความว่า มนุษย์ย่อมตายภายใน 100 ปี

เชิงอรรถ :
1 สํ.ส. 15/145/130
2 สํ.ส. 15/146/131

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :145 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
คำว่า แม้หากผู้ใดจะมีชีวิตอยู่เกินไปกว่านั้น อธิบายว่า ผู้ใดอยู่ได้เกิน
100 ปี ผู้นั้นก็อยู่ได้อีก 1 ปีบ้าง ... 2 ปีบ้าง ... 3 ปีบ้าง ... 4 ปีบ้าง ... 5 ปีบ้าง ...
20 ปีบ้าง ... 30 ปีบ้าง ... ผู้นั้นก็อยู่ได้อีก 40 ปีบ้าง รวมความว่า แม้หากผู้ใด
จะมีชีวิตอยู่เกินไปกว่านั้น
คำว่า ผู้นั้นก็จะตายเพราะชราแน่แท้ อธิบายว่า เมื่อผู้ใดชรา คือ สูงอายุ
เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามาก มีฟันหัก ผมหงอก ผมบาง ศีรษะล้าน
หนังย่น ตัวตกกระ หลังโกง หลังค่อม ถือไม้เท้ายันกาย ผู้นั้นก็ย่อมเคลื่อน ตาย
สูญหาย สลายไปเพราะชรา ไม่มีความหลุดพ้นจากความตายไปได้
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
สัตว์ที่เกิดมาแล้ว มีภัยจากความตายเป็นนิจ
เหมือนผลไม้สุกแล้ว มีภัยจากการหล่นไปในเวลาเช้า ฉะนั้น
ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำไว้ทั้งหมดมีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เป็นฉันนั้น
มนุษย์ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ โง่ และฉลาดทั้งหมด
ย่อมไปสู่อำนาจของความตาย มีความตายรออยู่ข้างหน้า
เมื่อมนุษย์เหล่านั้นผู้ถูกความตายครอบงำอยู่
กำลังจะไปจากโลกนี้สู่ปรโลก บิดาก็ปกป้องบุตรไม่ได้
หรือหมู่ญาติก็ปกป้องหมู่ญาติไม่ได้
เมื่อพวกญาติกำลังเพ่งมองดูอยู่
รำพันกันเป็นอันมากอยู่นั่นแหละว่า จงดูสัตว์แต่ละตน ๆ
ถูกความตายนำไป เหมือนโคถูกนำไปฆ่าฉะนั้น
สัตว์โลกถูกความแก่และความตายครอบงำอยู่อย่างนี้1

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/582-587/451

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :146 }