เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
6. ชราสุตตนิทเทส1
อธิบายชราสูตร
ว่าด้วยชรา
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายชราสูตร ดังต่อไปนี้
[39] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ชีวิตนี้น้อยนัก มนุษย์ย่อมตายภายใน 100 ปี
แม้หากผู้ใดจะมีชีวิตอยู่เกินไปกว่านั้น
ผู้นั้นก็จะตายเพราะชราแน่แท้

ว่าด้วยชีวิตเป็นของน้อยด้วยเหตุ 2 ประการ
คำว่า ชีวิต ในคำว่า ชีวิตนี้น้อยนัก อธิบายว่า อายุ ความดำรงอยู่ ความ
ดำเนินไป ความให้ชีวิตดำเนินไป ความเคลื่อนไหว ความเป็นไป ความรักษา ความ
เป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์
อนึ่ง ชีวิตเป็นของน้อยด้วยเหตุ 2 ประการ คือ
1. ชีวิตเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย
2. ชีวิตเป็นของน้อย เพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย
ชีวิตเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างไร
คือ ในขณะจิตที่เป็นอดีต ชีวิตเป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่จักเป็นอยู่
ในขณะจิตที่เป็นอนาคต ชีวิตจักเป็นอยู่ ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้วในขณะ
จิตที่เป็นปัจจุบัน ชีวิตกำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/811-820/493-494

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :142 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
ชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งปวง
เป็นธรรมที่ประกอบกันขึ้นชั่วขณะจิตเดียว
ขณะย่อมหมุนไปอย่างรวดเร็ว
เทวดาผู้ดำรงอยู่ได้ตั้ง 84,000 กัป
ก็มิได้ประกอบด้วยจิต 2 ดวง(ในขณะจิตเดียว) เป็นอยู่ได้
ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ที่ตายไป หรือยังดำรงอยู่ในโลกนี้ดับไปแล้ว
ขันธ์เหล่านั้นทั้งหมด เป็นอย่างเดียวกัน ดับไปแล้วก็มิได้สืบต่อกัน
ขันธ์ที่แตกไปในอดีตอันหาลำดับมิได้
และขันธ์ที่จะแตกไปในอนาคต มีลักษณะไม่ต่างกับขันธ์ที่ดับในปัจจุบัน
สัตว์ไม่เกิดด้วยอนาคตขันธ์ ย่อมดำรงอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์
เพราะจิตแตกดับไป สัตว์โลกชื่อว่า ตายแล้ว
นี้เป็นปรมัตถบัญญัติ
เพราะมีอายตนะ 6 เป็นปัจจัย
ขันธ์ทั้งหลายที่แปรไปตามฉันทะ ย่อมเป็นไปไม่ขาดสาย
เหมือนน้ำไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น
ขันธ์ทั้งหลายถึงการทรงตัวอยู่ไม่ได้แตกไปแล้ว
กองขันธ์ในอนาคตก็ไม่มี ส่วนขันธ์ที่เกิดแล้วในปัจจุบันก็ดำรงอยู่
เหมือนเมล็ดผักกาดบนปลายเหล็กแหลม ฉะนั้น
ความแตกทำลายแห่งขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นเหล่านั้น
ปรากฏอยู่ข้างหน้า ขันธ์ทั้งหลายที่มีการแตกเป็นธรรมดา
ดำรงอยู่ มิได้รวมกับขันธ์เก่า
ขันธ์ทั้งหลายมาโดยสภาวะที่ไม่ปรากฏ แตกทำลายไปแล้ว
ก็ไปสู่สภาวะที่ไม่ปรากฏ ย่อมเกิดขึ้นและดับไป
เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศ ฉะนั้น
ชีวิตชื่อว่าเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :143 }