เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
พระอรหันต์ใด ผู้ไม่มีความคนึงหาในส่วนสุดทั้ง 2 ด้าน
ในโลกนี้ ในภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือในโลกหน้า
พระอรหันต์นั้นจึงไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ
ความตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นก็ไม่มี
[37] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พระอรหันต์นั้น ไม่มีทิฏฐิอันสัญญากำหนดไว้แม้นิดเดียว
ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือในอารมณ์ที่รับรู้ในโลกนี้
ใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนดพระอรหันต์นั้น
ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิอยู่ ด้วยเหตุอะไรเล่า

ว่าด้วยพระอรหันต์ได้ชื่อว่าพราหมณ์
คำว่า นั้น ในคำว่า พระอรหันต์นั้น ไม่มีทิฏฐิอันสัญญากำหนดไว้แม้
นิดเดียว ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือในอารมณ์ที่รับรู้ในโลกนี้ อธิบายว่า
พระอรหันตขีณาสพนั้นไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งทิฏฐิ อันสัญญาให้เกิด
ให้เกิดขึ้น กำหนด กำหนดไว้ ปรุงแต่ง ปรุงแต่งขึ้น ตั้งไว้ดีแล้ว เพราะมีสัญญาเป็น
หัวหน้า มีสัญญากำหนดไว้ และเพราะการแยกสัญญาในรูปที่เห็น หรือในความ
หมดจดเพราะรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือในความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยิน ใน
อารมณ์ที่รับรู้ หรือในความหมดจดเพราะอารมณ์ที่รับรู้ คือ ทิฏฐินั้นพระอรหันต์ละ
ได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วย
ไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระอรหันต์นั้น ไม่มีทิฏฐิอันสัญญากำหนดไว้แม้นิด
เดียวในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือในอารมณ์ที่รับรู้ในโลกนี้
คำว่า พราหมณ์ ในคำว่า พระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิอยู่
อธิบายว่า ที่ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม 7 ประการได้แล้ว คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :134 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
1. ลอยสักกายทิฏฐิได้แล้ว ... ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์1
คำว่า พระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิอยู่ อธิบายว่า พระ
อรหันต์นั้นผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือ คือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิอยู่ รวม
ความว่า พระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิอยู่
คำว่า ใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนด ... ด้วยเหตุอะไรเล่า อธิบายว่า
คำว่า การกำหนด ได้แก่ การกำหนด 2 อย่าง คือ
1. การกำหนดด้วยอำนาจตัณหา
2. การกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ...
นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ2
พระอรหันต์นั้นละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการกำหนด
ด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการ
กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว ใคร ๆ จะพึงกำหนดพระอรหันต์นั้นด้วยราคะ โทสะ
โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรเล่าว่า "เป็นผู้กำหนัด เป็นผู้
ขัดเคือง เป็นผู้หลง เป็นผู้ยึดติด เป็นผู้ยึดมั่น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ลังเล หรือเป็น
ผู้ตกอยู่ในพลังกิเลส"
พระอรหันต์ละอภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารได้แล้ว ใคร ๆ
จะพึงกำหนดคติด้วยเหตุอะไรเล่าว่า "เป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน
เป็นผู้เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา
เป็นผู้ไม่มีสัญญา หรือว่าเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่" ใคร ๆ จะพึงกำหนด
คือ กำหนดรู้ ถึงการกำหนดรู้ด้วยเหตุ ปัจจัย และการณ์ใด เหตุ ปัจจัย และการณ์
นั้นไม่มี

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 25/104-105
1 เทียบกับความในข้อ 28/117

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :135 }