เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
ในโลกนี้ หรือในโลกหน้า คือ ตัณหา พระอรหันต์ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้
สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า
พระอรหันต์ใด ผู้ไม่มีความคนึงหาในส่วนสุดทั้ง 2 ด้าน ในโลกนี้ ในภพน้อยภพใหญ่
ในโลกนี้หรือในโลกหน้า
คำว่า เครื่องอยู่ ในคำว่า พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ ได้แก่
เครื่องอยู่ 2 อย่าง คือ (1) เครื่องอยู่ด้วยอำนาจตัณหา (2) เครื่องอยู่ด้วยอำนาจทิฏฐิ
... นี้ชื่อว่าเครื่องอยู่ด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าเครื่องอยู่ด้วยอำนาจทิฏฐิ1
คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า พระอรหันต์นั้นจึงไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ อธิบายว่า พระอรหันต์นั้นไม่มี
คือ ย่อมไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งเครื่องอยู่อะไรๆ ได้แก่ เครื่องอยู่
อะไร ๆ พระอรหันต์นั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระอรหันต์นั้น จึงไม่มี
เครื่องอยู่อะไร ๆ
คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ในคำว่า ความตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น
ได้แก่ ในทิฏฐิ 62
คำว่า ตกลงใจแล้ว ได้แก่ ตกลงใจแล้ว คือ วินิจฉัยแล้ว ตัดสินแล้ว
ชี้ขาดแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
คำว่า ถือมั่น ได้แก่ จับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือ
ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้จริง แท้
แน่ แท้จริง ตามเป็นจริง ไม่วิปริต ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่พระอรหันต์นั้น
ได้แก่ ความตกลงใจแล้วถือมั่นนั้น พระอรหันต์นั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้
สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า
ความตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
1 เทียบกับความในข้อ 12/58-59

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :133 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
พระอรหันต์ใด ผู้ไม่มีความคนึงหาในส่วนสุดทั้ง 2 ด้าน
ในโลกนี้ ในภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือในโลกหน้า
พระอรหันต์นั้นจึงไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ
ความตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นก็ไม่มี
[37] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พระอรหันต์นั้น ไม่มีทิฏฐิอันสัญญากำหนดไว้แม้นิดเดียว
ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือในอารมณ์ที่รับรู้ในโลกนี้
ใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนดพระอรหันต์นั้น
ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิอยู่ ด้วยเหตุอะไรเล่า

ว่าด้วยพระอรหันต์ได้ชื่อว่าพราหมณ์
คำว่า นั้น ในคำว่า พระอรหันต์นั้น ไม่มีทิฏฐิอันสัญญากำหนดไว้แม้
นิดเดียว ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือในอารมณ์ที่รับรู้ในโลกนี้ อธิบายว่า
พระอรหันตขีณาสพนั้นไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งทิฏฐิ อันสัญญาให้เกิด
ให้เกิดขึ้น กำหนด กำหนดไว้ ปรุงแต่ง ปรุงแต่งขึ้น ตั้งไว้ดีแล้ว เพราะมีสัญญาเป็น
หัวหน้า มีสัญญากำหนดไว้ และเพราะการแยกสัญญาในรูปที่เห็น หรือในความ
หมดจดเพราะรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือในความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยิน ใน
อารมณ์ที่รับรู้ หรือในความหมดจดเพราะอารมณ์ที่รับรู้ คือ ทิฏฐินั้นพระอรหันต์ละ
ได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วย
ไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระอรหันต์นั้น ไม่มีทิฏฐิอันสัญญากำหนดไว้แม้นิด
เดียวในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือในอารมณ์ที่รับรู้ในโลกนี้
คำว่า พราหมณ์ ในคำว่า พระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิอยู่
อธิบายว่า ที่ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม 7 ประการได้แล้ว คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :134 }