เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
ไปด้วยอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอุทธัจจะ ไม่
ดำเนินไปด้วยอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ไป คือ ไม่
ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไปด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมความว่า
เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน ภิกษุนั้นก็ไม่เข้าเป็นฝักเป็นฝ่าย
คำว่า ภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไร ๆ อธิบายว่า ทิฏฐิทั้ง 62 ภิกษุนั้นละ
ได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผา
ด้วยไฟคือญาณแล้ว ภิกษุนั้นจึงไม่ถือ คือไม่หวนกลับมาหาทิฏฐิอะไร ๆ อีก รวม
ความว่า ภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไร ๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุนั้นละตนแล้วไม่ยึดถือ ไม่สร้างนิสัยแม้ด้วยญาณ
เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน ภิกษุนั้นก็ไม่เข้าเป็นฝักเป็นฝ่าย
ภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไร ๆ
[36] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พระอรหันต์ใด ผู้ไม่มีความคนึงหาในส่วนสุดทั้ง 2 ด้าน
ในโลกนี้ ในภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือในโลกหน้า
พระอรหันต์นั้นจึงไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ
ความตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นก็ไม่มี

ว่าด้วยภูมิธรรมของพระอรหันต์
คำว่า ใด ในคำว่า พระอรหันต์ใด ผู้ไม่มีความคนึงหาในส่วนสุดทั้ง 2 ด้าน
ในโลกนี้ ในภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือในโลกหน้า ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ส่วนสุด อธิบายว่า
ผัสสะเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดแห่งผัสสะเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง
อดีตเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อนาคตเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง
สุขเวทนาเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :131 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
นามเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง รูปเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง
อายตนะภายใน 6 เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อายตนะภายนอก 6 เป็นส่วนสุด
อีกด้านหนึ่ง
ความถือตัวเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดแห่งความถือตัวเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง
ตัณหาตรัสเรียกว่า ความคนึงหา ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ...
อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ1
คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ อธิบายว่า ในภพน้อยภพใหญ่ คือ ในกรรมวัฏและ
วิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ
ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏ
เป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในภพต่อไป ในคติ
ต่อไป ในการถือกำเนิดต่อไป ในปฏิสนธิต่อไป ในความบังเกิดแห่งอัตภาพต่อไป
คำว่า โลกนี้ ได้แก่ อัตภาพของตน
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ อัตภาพของผู้อื่น
อีกนัยหนึ่ง คำว่า โลกนี้ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของตน
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของผู้อื่น
อีกนัยหนึ่ง คำว่า โลกนี้ ได้แก่ อายตนะภายใน 6
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ อายตนะภายนอก 6
คำว่า โลกนี้ ได้แก่ มนุษยโลก
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ เทวโลก
คำว่า โลกนี้ ได้แก่ กามธาตุ
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ รูปธาตุ อรูปธาตุ
คำว่า โลกนี้ ได้แก่ กามธาตุ รูปธาตุ
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ อรูปธาตุ
คำว่า พระอรหันต์ใด ผู้ไม่มีความคนึงหาในส่วนสุดทั้ง 2 ด้าน ในโลกนี้
ในภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือในโลกหน้า อธิบายว่า พระอรหันต์ใด ย่อมไม่มี
คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งตัณหา เป็นที่คนึงหาในส่วนสุดทั้ง 2 ด้านในภพน้อยภพใหญ่

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 3/10-11

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :132 }