เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
ไปด้วยอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอุทธัจจะ ไม่
ดำเนินไปด้วยอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ไป คือ ไม่
ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไปด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมความว่า
เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน ภิกษุนั้นก็ไม่เข้าเป็นฝักเป็นฝ่าย
คำว่า ภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไร ๆ อธิบายว่า ทิฏฐิทั้ง 62 ภิกษุนั้นละ
ได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผา
ด้วยไฟคือญาณแล้ว ภิกษุนั้นจึงไม่ถือ คือไม่หวนกลับมาหาทิฏฐิอะไร ๆ อีก รวม
ความว่า ภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไร ๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุนั้นละตนแล้วไม่ยึดถือ ไม่สร้างนิสัยแม้ด้วยญาณ
เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน ภิกษุนั้นก็ไม่เข้าเป็นฝักเป็นฝ่าย
ภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไร ๆ
[36] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พระอรหันต์ใด ผู้ไม่มีความคนึงหาในส่วนสุดทั้ง 2 ด้าน
ในโลกนี้ ในภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือในโลกหน้า
พระอรหันต์นั้นจึงไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ
ความตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นก็ไม่มี

ว่าด้วยภูมิธรรมของพระอรหันต์
คำว่า ใด ในคำว่า พระอรหันต์ใด ผู้ไม่มีความคนึงหาในส่วนสุดทั้ง 2 ด้าน
ในโลกนี้ ในภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือในโลกหน้า ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ส่วนสุด อธิบายว่า
ผัสสะเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดแห่งผัสสะเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง
อดีตเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อนาคตเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง
สุขเวทนาเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :131 }