เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
ภิกษุไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลกด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลวัตร
ไม่พึงเอาตนเข้าไปเทียบว่าเสมอเขา
ไม่พึงสำคัญตนว่า ด้อยกว่าเขา หรือแม้เลิศกว่าเขา
[35] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุนั้นละตนแล้วไม่ยึดถือ ไม่สร้างนิสัยแม้ด้วยญาณ
เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน ภิกษุนั้นก็ไม่เข้าเป็นฝักเป็นฝ่าย
ภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไร ๆ
คำว่า ละตนแล้ว ในคำว่า ละตนแล้วไม่ยึดถือ ได้แก่ ละความเห็นว่าเป็นตน
อีกนัยหนึ่ง คำว่า ละตนแล้ว ได้แก่ ละความถือ
อีกนัยหนึ่ง คำว่า ละตนแล้ว ได้แก่ ละ คือ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจ
เชื่อ ด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ ชื่อว่าละตนแล้ว
คำว่า ไม่ยึดถือ ได้แก่ ไม่ยึดถือ คือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ด้วย
อุปาทาน 4 รวมความว่า ละตนแล้วไม่ยึดถือ
คำว่า ภิกษุนั้น ... ไม่สร้างนิสัยด้วยญาณ อธิบายว่า ไม่สร้าง คือ ไม่ให้เกิด
ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้น ซึ่งนิสัยด้วยอำนาจตัณหา หรือนิสัยด้วย
อำนาจทิฏฐิ ด้วยญาณในสมาบัติ 8 ด้วยญาณในอภิญญา 5 หรือด้วยมิจฉาญาณ
รวมความว่า ภิกษุนั้น ... ไม่สร้างนิสัยแม้ด้วยญาณ
คำว่า เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน ภิกษุนั้นก็ไม่เข้าเป็นฝักเป็นฝ่าย อธิบายว่า
เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน คือแยกกัน ถึงความเป็น 2 ฝ่าย กลายเป็นคน 2 พวก มี
ความเห็นต่างกัน มีความพอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน มีลัทธิต่างกัน อาศัย
นิสัยด้วยอำนาจทิฏฐิต่างกัน ถึงฉันทาคติ(ลำเอียงเพราะชอบ) ถึงโทสาคติ(ลำเอียง
เพราะชัง) ถึงโมหาคติ(ลำเอียงเพราะหลง) ถึงภยาคติ(ลำเอียงเพราะกลัว) ภิกษุนั้นก็
ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ คือ ไม่ดำเนินไปด้วย
อำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโมหะ ไม่ดำเนิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :130 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
ไปด้วยอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอุทธัจจะ ไม่
ดำเนินไปด้วยอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ไป คือ ไม่
ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไปด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมความว่า
เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน ภิกษุนั้นก็ไม่เข้าเป็นฝักเป็นฝ่าย
คำว่า ภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไร ๆ อธิบายว่า ทิฏฐิทั้ง 62 ภิกษุนั้นละ
ได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผา
ด้วยไฟคือญาณแล้ว ภิกษุนั้นจึงไม่ถือ คือไม่หวนกลับมาหาทิฏฐิอะไร ๆ อีก รวม
ความว่า ภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไร ๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุนั้นละตนแล้วไม่ยึดถือ ไม่สร้างนิสัยแม้ด้วยญาณ
เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน ภิกษุนั้นก็ไม่เข้าเป็นฝักเป็นฝ่าย
ภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไร ๆ
[36] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พระอรหันต์ใด ผู้ไม่มีความคนึงหาในส่วนสุดทั้ง 2 ด้าน
ในโลกนี้ ในภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือในโลกหน้า
พระอรหันต์นั้นจึงไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ
ความตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นก็ไม่มี

ว่าด้วยภูมิธรรมของพระอรหันต์
คำว่า ใด ในคำว่า พระอรหันต์ใด ผู้ไม่มีความคนึงหาในส่วนสุดทั้ง 2 ด้าน
ในโลกนี้ ในภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือในโลกหน้า ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ส่วนสุด อธิบายว่า
ผัสสะเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดแห่งผัสสะเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง
อดีตเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อนาคตเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง
สุขเวทนาเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :131 }