เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
[34] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลกด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลวัตร
ไม่พึงเอาตนเข้าไปเทียบว่าเสมอเขา
ไม่พึงสำคัญตนว่า ด้อยกว่าเขา หรือแม้เลิศกว่าเขา

ว่าด้วยภิกษุไม่พึงมีทิฏฐิมานะ
คำว่า ไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลกด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลวัตร อธิบายว่า
ไม่พึงกำหนด คือ ไม่พึงให้เกิด ไม่พึงให้เกิดขึ้น ไม่พึงให้บังเกิด ไม่พึงให้บังเกิดขึ้น
ซึ่งทิฏฐิด้วยญาณในสมาบัติ1 8 ญาณในอภิญญา2 5 มิจฉาญาณ ศีล วัตร หรือ
ทั้งศีลและวัตร
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก รวมความว่า ไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลกด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลวัตร
คำว่า ไม่พึงเอาตนเข้าไปเทียบว่า เสมอเขา อธิบายว่า ไม่พึงเอาตนเข้าไป
เทียบว่า "เราเป็นเช่นเดียวกับเขา" ด้วยชาติ โคตร ความเป็นบุตรของตระกูล ความ
เป็นผู้มีรูปงาม ทรัพย์ การศึกษา หน้าที่การงาน หลักแห่งศิลปวิทยา วิทยฐานะ
ความคงแก่เรียน ปฏิภาณ หรือสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว รวมความว่า ไม่พึงเอา
ตนเข้าไปเทียบว่า เสมอเขา
คำว่า ไม่พึงสำคัญตนว่าด้อยกว่าเขา หรือแม้เลิศกว่าเขา อธิบายว่า ไม่พึง
เอาตนเข้าไปเทียบว่า "เราด้อยกว่าเขา" ด้วยชาติ โคตร ... หรือสิ่งอื่นนอกจากที่
กล่าวแล้ว ไม่พึงเอาตนเข้าไปเทียบว่า "เราเลิศกว่าเขา" ด้วยชาติ โคตร ... หรือ
สิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว รวมความว่า ไม่พึงสำคัญตนว่าด้อยกว่าเขา หรือ
แม้เลิศกว่าเขา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถข้อ 6/25
2 ดูเชิงอรรถข้อ 38/141

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :129 }