เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ในลัทธิของตนนั้น ได้แก่ ในทิฏฐิของตน คือ ในความถูกใจของตน
ความพอใจของตน ลัทธิของตน
คำว่า ยึดมั่น ได้แก่ จับ ยึด ถือ ยึดมั่น ถือมั่นว่า ทิฏฐินี้ เยี่ยม ยอด ประเสริฐ
วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด รวมความว่า เจ้าลัทธินั้นยึดมั่นทิฏฐินั้นในลัทธิ
ของตนนั้น
คำว่า เห็นทิฏฐิอื่นทั้งปวง โดยความเป็นของเลว อธิบายว่า เห็น คือ แลเห็น
ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดู ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ
ปฏิปทา มรรคอื่น โดยความเป็นของเลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า
ต่ำต้อย รวมความว่า เห็นทิฏฐิอื่นทั้งปวงโดยความเป็นของเลว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
เจ้าลัทธิเห็นอานิสงส์ใดในตน ในรูปที่เห็น
ในเสียงที่ได้ยิน ในศีลวัตร หรือในอารมณ์ที่รับรู้
เจ้าลัทธินั้นยึดมั่นทิฏฐินั้นในลัทธิของตนนั้น
เห็นทิฏฐิอื่นทั้งปวงโดยความเป็นของเลว
[33] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลอาศัยศาสดาใด เห็นศาสดาอื่นว่าเลว
ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกศาสดานั้นว่า เป็นเครื่องร้อยรัด
เพราะฉะนั้นแล ภิกษุจึงไม่ควรอาศัยรูปที่เห็น
เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่รับรู้ หรือศีลวัตร

ว่าด้วยความเห็นของผู้ฉลาด
คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกศาสดานั้นว่า เป็น
เครื่องร้อยรัด อธิบายว่า ผู้ฉลาดในขันธ์ ผู้ฉลาดในธาตุ ผู้ฉลาดในอายตนะ ผู้ฉลาด
ในปฏิจจสมุปบาท ผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน ผู้ฉลาดในสัมมัปปธาน ผู้ฉลาดในอิทธิบาท
ผู้ฉลาดในอินทรีย์ ผู้ฉลาดในพละ ผู้ฉลาดในโพชฌงค์ ผู้ฉลาดในมรรค ผู้ฉลาดในผล
ผู้ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้นเรียกอย่างนี้ คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :127 }