เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย" รวมความว่า กล่าวทิฏฐิอื่น
ทุกอย่างนอกจาก ทิฏฐินั้นว่าเลว
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดนั้นจึงไม่ล่วงพ้นการ
วิวาทไปได้ ได้แก่ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะ
ต้นเหตุนั้น
คำว่า การวิวาท ได้แก่ การทะเลาะเพราะทิฏฐิ การบาดหมางเพราะทิฏฐิ การ
แก่งแย่งเพราะทิฏฐิ การวิวาทเพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ
คำว่า ไม่ล่วงพ้นไปได้ ได้แก่ ไม่ก้าวล่วง ไม่ก้าวพ้น ไม่ล่วงพ้น รวมความว่า
เพราะฉะนั้น จึงไม่ล่วงพ้นการวิวาทไปได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สัตว์เกิดผู้ยึดถือในทิฏฐิทั้งหลายว่า ยอดเยี่ยม
ย่อมทำทิฏฐิใดให้ยิ่งใหญ่ในโลก
กล่าวทิฏฐิอื่นทุกอย่าง นอกจากทิฏฐินั้นว่า เลว
เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดนั้น จึงไม่ล่วงพ้นการวิวาทไปได้
[32] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เจ้าลัทธิเห็นอานิสงส์ใดในตน ในรูปที่เห็น
ในเสียงที่ได้ยิน ในศีลวัตร หรือในอารมณ์ที่รับรู้
เจ้าลัทธินั้นยึดมั่นทิฏฐินั้นในลัทธิของตนนั้น
เห็นทิฏฐิอื่นทั้งปวงโดยความเป็นของเลว

ว่าด้วยอานิสงส์ในทิฏฐิ
คำว่า (อานิสงส์)ใดในตน ในคำว่า เห็นอานิสงส์ใดในตน ในรูปที่เห็น
ในเสียงที่ได้ยิน ในศีลวัตร หรือในอารมณ์ที่รับรู้ ได้แก่ อานิสงส์ใดในตน
ทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า ตน เจ้าลัทธินั้นเห็นอานิสงส์ 2 อย่าง แห่งทิฏฐิของตน คือ
(1) อานิสงส์ที่มีในชาตินี้ (2) อานิสงส์ที่มีในชาติหน้า
อานิสงส์แห่งทิฏฐิที่มีในชาตินี้ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :125 }