เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
จับ ยึด ถือ ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิ 62 ว่า "ทิฏฐินี้เยี่ยม
ยอด ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด" ย่อมอยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย
อยู่ครองด้วยทิฏฐิของตน ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า ผู้ยึดถือในทิฏฐิทั้งหลายว่า
ยอดเยี่ยม
คำว่า ทิฏฐิใด ในคำว่า สัตว์เกิด ...ย่อมทำทิฏฐิใดให้ยิ่งใหญ่ในโลก ได้แก่
ลัทธิใด
คำว่า ย่อมทำให้ยิ่งใหญ่ ได้แก่ ย่อมทำให้ยิ่งใหญ่ คือ ย่อมทำให้ยอดเยี่ยม
ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด อธิบายว่า ย่อมทำให้ยิ่งใหญ่ คือ ทำให้
ยอดเยี่ยม ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด คือให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้นว่า
"ศาสดานี้เป็นสัพพัญญู ธรรมนี้ศาสดากล่าวสอนไว้ดีแล้ว หมู่คณะนี้ปฏิบัติดีแล้ว
ทิฏฐินี้เป็นสิ่งที่เจริญ ปฏิปทานี้ศาสดาบัญญัติไว้ดีแล้ว มรรคนี้เป็นทางนำออก
จากทุกข์"
คำว่า สัตว์เกิด ได้แก่ สัตว์ นรชน ... มนุษย์1
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ... อายตนโลก2 รวมความว่า สัตว์เกิด ...
ย่อมทำทิฏฐิใดให้ยิ่งใหญ่ในโลก
คำว่า กล่าวทิฏฐิอื่นทุกอย่างนอกจากทิฏฐินั้นว่า เลว อธิบายว่า สัตว์เกิดนั้น
ย่อมทิ้ง ละทิ้ง ทอดทิ้งลัทธิอื่นทุกอย่าง นอกจากศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน
หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของตน กล่าวคือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอย่างนี้ว่า
"ศาสดานั้น มิใช่สัพพัญญู ธรรมมิใช่ศาสดากล่าวสอนไว้ดีแล้ว หมู่คณะมิใช่ผู้ปฏิบัติ
ดีแล้ว ทิฏฐิมิใช่สิ่งที่เจริญ ปฏิปทามิใช่ศาสดาบัญญัติไว้ดีแล้ว มรรคมิใช่ทางนำออก
จากทุกข์ ในลัทธินั้นไม่มีความหมดจด ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป หรือความหลุดพ้นไป คือ ในลัทธินั้น สัตว์ทั้งหลายย่อมหมดจด
สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หรือหลุดพ้นไปไม่ได้ สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้เลว คือ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 1/4
2 ดูรายละเอียดข้อ 3/12

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :124 }