เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 4. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยพระอรหันต์
คำว่า พระอรหันต์เป็นผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว เป็นพราหมณ์ เพราะรู้และ
เห็น พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่น อธิบายว่า
คำว่า เขตแดน ได้แก่ เขตแดน 4 อย่าง คือ
1. สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และ
เหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกันนั้น นี้เป็นเขตแดนที่ 1
2. กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างหยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย
อย่างหยาบ และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกันนั้น นี้เป็นเขตแดนที่ 2
3. กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย
อย่างละเอียด และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกันนั้น นี้เป็นเขตแดนที่ 3
4. รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย
อวิชชานุสัย และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกันนั้น นี้เป็นเขตแดนที่ 4
เพราะพระอรหันต์ เป็นผู้ก้าวล่วง คือ ก้าวพ้น ล่วงพ้น เขตแดนทั้ง 4 เหล่านี้
ด้วยอริยมรรค 4 พระอรหันต์นั้น จึงตรัสเรียกว่า ผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว
คำว่า เป็นพราหมณ์ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม 7 ประการ
ได้แล้ว คือ
1. ลอยสักกายทิฏฐิได้แล้ว
2. ลอยวิจิกิจฉาได้แล้ว
3. ลอยสีลัพพตปรามาสได้แล้ว ... ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์1
คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า เพราะรู้ ได้แก่ เพราะรู้ด้วยปรจิตตญาณ(ญาณเป็นเครื่องรู้จิตของผู้อื่น)
หรือ รู้ด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ(ญาณเป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ก่อน)
คำว่า เพราะเห็น ได้แก่ เพราะเห็นด้วยมังสจักขุ หรือ เห็นด้วยทิพพจักขุ
คำว่า พระอรหันต์เป็นผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว เป็นพราหมณ์ เพราะรู้และ
เห็น พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่น อธิบายว่า พระอรหันต์นั้น ไม่มี คือ

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 25/104-105

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :121 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 4. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ซึ่งความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ
ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้ เยี่ยม ยอด ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด
คือ ความถือมั่นนั้นพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระอรหันต์
เป็นผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว เป็นพราหมณ์ เพราะรู้และเห็น พระอรหันต์นั้น จึงไม่มี
ความถือมั่น
คำว่า ไม่เป็นผู้กำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็น
ที่คลายกำหนัด อธิบายว่า ชนเหล่าใดกำหนัด คือ ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น
เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามคุณ 5 ชนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า ผู้กำหนัดใน
กามคุณเป็นที่กำหนัด ชนเหล่าใดกำหนัด คือ ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด
เกี่ยวพัน พัวพันในรูปาวจรสมาบัติ และอรูปาวจรสมาบัติ ชนเหล่านั้นตรัสเรียกว่า
ผู้กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด
คำว่า ไม่เป็นผู้กำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็นที่
คลายกำหนัด อธิบายว่า เมื่อใด พระอรหันต์ละกามราคะ รูปราคะ และอรูปราคะ
ได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เมื่อนั้น พระอรหันต์ จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่
กำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด
คำว่า นั้น ในคำว่า พระอรหันต์นั้น ไม่มีความถือมั่นว่ายอดเยี่ยมในโลกนี้
ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ พระอรหันต์นั้นไม่มีความถือ ความยึดมั่น ความ
ถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้ เยี่ยม ยอด ประเสริฐ วิเศษ
นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด
คำว่า ไม่มี ได้แก่ ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ได้แก่ ความถือมั่นนั้น
พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่
ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่น
ว่ายอดเยี่ยมในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :122 }