เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 1. กามสุตตนิทเทส
เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ1 รูปธาตุ2 อรูปธาตุ3 กามภพ รูปภพ
อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ4
จตุโวการภพ5 ปัญจโวการภพ6 อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่รับรู้แล้ว และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก(โลกคือ
ขันธ์ 5) ธาตุโลก(โลกคือธาตุ 18) อายตนโลก(โลกคืออายตนะ 12)
คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย
2. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
3. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต
4. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย
มีสติด้วยเหตุอีก 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่ามีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ
2. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กระทำสิ่งทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ
3. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กำจัดสิ่งทั้งหลายที่เป็นฝ่ายตรง ข้ามกับสติ
4. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมทั้งหลายที่เป็นมูลเหตุแห่งสติ
มีสติด้วยเหตุอีก 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสติ
2. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ชำนาญในสติ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถข้อ 1/2
2 ดูเชิงอรรถข้อ 1/2
3 ดูเชิงอรรถข้อ 1/2
4 เอกโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยรูปขันธ์ 1 หรือภพที่มีขันธ์ 1 ได้แก่ อสัญญาภพ
5 จตุโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยอรูปขันธ์ 4 หรือภพที่มีขันธ์ 4 ได้แก่ อรูปภพ
6 ปัญจโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยขันธ์ 5 หรือภพที่มีขันธ์ 5 ปัญจโวการภพนี้เป็นกามภพด้วย
เป็นเอกเทศแห่งรูปภพด้วย (ขุ.ม.อ. 3/42)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :12 }