เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 4. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
จึงดับ ... เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ... เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ...
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ... เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ... เพราะอุปาทาน
ดับ ภพจึงดับ ... เพราะภพดับ ชาติจึงดับ ... เพราะชาติดับ ชรา มรณะ จึงดับ"
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมว่า "นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา"
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมว่า "เหล่านี้อาสวะ ... นี้อาสวสมุทัย ... นี้อาสวนิโรธ ...
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา"
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมว่า "เหล่านี้ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ... เหล่านี้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
... เหล่านี้ธรรมที่ควรละ ... เหล่านี้ธรรมที่ควรเจริญ ... เหล่านี้ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง"
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมคือเหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่ง
ผัสสายตนะ 6
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมคือเหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่ง
อุปาทานขันธ์ 5
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมคือเหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่ง
มหาภูตรูป 4
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด
ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา" รวมความว่า ส่วนผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยเวท
ทั้งหลายแล้ว
คำว่า เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจภูริ(แผ่นดิน) ย่อมไม่ดำเนินไปลุ่ม ๆ
ดอน ๆ ได้แก่ ไม่จากศาสดา(แรก)ไปหาศาสดา(ต่อมา) ไม่จากธรรมที่ศาสดากล่าว
สอน(แรก)ไปหาธรรมที่ศาสดากล่าวสอน(ต่อมา) ไม่จากหมู่คณะ(แรก)ไปหาหมู่
คณะ(ต่อมา) ไม่จากทิฏฐิ(แรก)ไปหาทิฏฐิ(ต่อมา) ไม่จากปฏิปทา(แรก)ไปหา
ปฏิปทา(ต่อมา) ไม่จากมรรค(แรก)ไปหามรรค(ต่อมา)
คำว่า เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจภูริ(แผ่นดิน) ได้แก่ เป็นผู้มีปัญญาดุจ
ภูริ คือมีปัญญายิ่งใหญ่ มีปัญญามาก มีปัญญาอาจหาญ มีปัญญาฉับไว มีปัญญา
เฉียบคม มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส แผ่นดิน ตรัสเรียกว่า ภูริ บุคคลนั้นประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :114 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 4. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
ด้วยปัญญา อันกว้างขวาง แผ่ไป เสมอด้วยแผ่นดินนั้น รวมความว่า เป็นผู้มีปัญญา
กว้างขวางดุจภูริ(แผ่นดิน) ย่อมไม่ดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
สัตว์เกิดสมาทานวัตรทั้งหลายเอง
ข้องอยู่ในสัญญา ย่อมดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ
ส่วนผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยเวททั้งหลายแล้ว
เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจภูริ(แผ่นดิน)
ย่อมไม่ดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ
[28] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ผู้มีปัญญานั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง
คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนดผู้มีปัญญานั้น
ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย ด้วยเหตุอะไรเล่า

ว่าด้วยเสนามาร
คำว่า ผู้มีปัญญานั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือรูปที่เห็น เสียง
ที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เสนามาร ตรัสเรียกว่า
เสนา กายทุจริต ชื่อว่าเสนามาร วจีทุจริต ชื่อว่าเสนามาร มโนทุจริต ชื่อว่า
เสนามาร ราคะ ชื่อว่าเสนามาร โทสะ ชื่อว่าเสนามาร โมหะ ชื่อว่าเสนามาร
โกธะ ... อุปนาหะ ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่าเสนามาร สมจริงดังที่พระผู้มี-
พระภาคตรัสไว้ว่า
กิเลสกามเราเรียกว่าเสนากองที่ 1 ของท่าน
ความไม่ยินดีเราเรียกว่าเสนากองที่ 2 ของท่าน
ความหิวกระหายเราเรียกว่าเสนากองที่ 3 ของท่าน
ตัณหาเราเรียกว่าเสนากองที่ 4 ของท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :115 }