เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 4. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
ไม่จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงที่ไม่ตาย บรรลุที่ไม่ตาย ถึงที่ดับ บรรลุที่ดับแห่งชาติ ชรา
มรณะ ด้วยเวทเหล่านั้น
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าเวทคู เพราะถึงที่สุดแห่งความรู้ทั้งหลาย ชื่อว่าเวทคู เพราะ
ถึงที่สุดด้วยความรู้ทั้งหลาย ชื่อว่าเวทคู เพราะรู้แจ้งธรรม 7 ประการ คือ

1. เป็นผู้รู้แจ้งสักกายทิฏฐิ 2. เป็นผู้รู้แจ้งวิจิกิจฉา
3. เป็นผู้รู้แจ้งสีลัพพตปรามาส 4. เป็นผู้รู้แจ้งราคะ
5. เป็นผู้รู้แจ้งโทสะ 6. เป็นผู้รู้แจ้งโมหะ
7. เป็นผู้รู้แจ้งมานะ

ผู้มีความรู้นั้นเป็นผู้รู้แจ้งบาปอกุศลธรรม ซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง
ก่อภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะ
ต่อไป
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สภิยะ)
บุคคลเลือกเฟ้นเวททั้งสิ้น ของพวกสมณพราหมณ์ที่มีอยู่
เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง
ก้าวล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าเวทคู1
คำว่า ส่วนผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลายแล้ว อธิบายว่า รู้ คือ
รู้ยิ่งธรรมว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็น
อนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ... เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
... เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ... เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ...
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ... เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ...
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ... เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ...
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ... เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ... เพราะชาติ
เป็นปัจจัย ชรา มรณะจึงมี"
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมว่า "เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ... เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ... เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ... เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/535/438

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :113 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 4. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
จึงดับ ... เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ... เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ...
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ... เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ... เพราะอุปาทาน
ดับ ภพจึงดับ ... เพราะภพดับ ชาติจึงดับ ... เพราะชาติดับ ชรา มรณะ จึงดับ"
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมว่า "นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา"
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมว่า "เหล่านี้อาสวะ ... นี้อาสวสมุทัย ... นี้อาสวนิโรธ ...
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา"
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมว่า "เหล่านี้ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ... เหล่านี้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
... เหล่านี้ธรรมที่ควรละ ... เหล่านี้ธรรมที่ควรเจริญ ... เหล่านี้ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง"
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมคือเหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่ง
ผัสสายตนะ 6
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมคือเหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่ง
อุปาทานขันธ์ 5
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมคือเหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่ง
มหาภูตรูป 4
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด
ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา" รวมความว่า ส่วนผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยเวท
ทั้งหลายแล้ว
คำว่า เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจภูริ(แผ่นดิน) ย่อมไม่ดำเนินไปลุ่ม ๆ
ดอน ๆ ได้แก่ ไม่จากศาสดา(แรก)ไปหาศาสดา(ต่อมา) ไม่จากธรรมที่ศาสดากล่าว
สอน(แรก)ไปหาธรรมที่ศาสดากล่าวสอน(ต่อมา) ไม่จากหมู่คณะ(แรก)ไปหาหมู่
คณะ(ต่อมา) ไม่จากทิฏฐิ(แรก)ไปหาทิฏฐิ(ต่อมา) ไม่จากปฏิปทา(แรก)ไปหา
ปฏิปทา(ต่อมา) ไม่จากมรรค(แรก)ไปหามรรค(ต่อมา)
คำว่า เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจภูริ(แผ่นดิน) ได้แก่ เป็นผู้มีปัญญาดุจ
ภูริ คือมีปัญญายิ่งใหญ่ มีปัญญามาก มีปัญญาอาจหาญ มีปัญญาฉับไว มีปัญญา
เฉียบคม มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส แผ่นดิน ตรัสเรียกว่า ภูริ บุคคลนั้นประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :114 }