เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 4. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า สัตว์เกิด ได้แก่ สัตว์ นรชน ... มนุษย์1 รวมความว่า สัตว์เกิดสมาทาน
วัตรทั้งหลายเอง
คำว่า ข้องอยู่ในสัญญา ย่อมดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ ได้แก่ จากศาสดา(แรก)
ไปหาศาสดา(ต่อมา) จากธรรมที่ศาสดากล่าวสอน(ครั้งแรก) ไปหาธรรมที่ศาสดา
กล่าวสอน(ครั้งต่อมา) จากหมู่คณะ(แรก) ไปหาหมู่คณะ(ต่อมา) จากทิฏฐิ(แรก) ไป
หาทิฏฐิ(ต่อมา) จากปฏิปทา(แรก) ไปหาปฏิปทา(ต่อมา) จากมรรค(แรก) ไปหา
มรรค(ต่อมา)
คำว่า ผู้ข้องอยู่ในสัญญา อธิบายว่า ผู้ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน
พัวพันในกามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ทิฏฐิสัญญา เปรียบเหมือน
สิ่งของ ข้อง คือ ติด เกี่ยว แขวน เกี่ยวพัน ติดตรึงอยู่ที่ตะปูข้างฝา หรือ ที่ไม้แขวน
ฉันใด สัตว์เกิดนั้นก็ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามสัญญา
พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ทิฏฐิสัญญา ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า
ผู้ข้องอยู่ในสัญญา ย่อมดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ

ว่าด้วยผู้รู้ธรรม 7 ประการ
คำว่า ผู้มีความรู้ ในคำว่า ส่วนผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยเวททั้งหลายแล้ว
ได้แก่ ผู้มีความรู้ คือ มีวิชชา มีญาณ มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีปัญญาแจ่มแจ้ง
มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
คำว่า ด้วยเวททั้งหลาย ได้แก่ ญาณในมรรค 4 ตรัสเรียกว่า เวท คือ ปัญญา
ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเครื่องพิจารณา ปัญญา
เครื่องเห็นแจ้ง สัมมาทิฏฐิ
ผู้มีความรู้นั้น ถึงที่สุด บรรลุที่สุด ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงปลายสุด
บรรลุปลายสุด ถึงความสำเร็จ บรรลุความสำเร็จ ถึงที่ปกป้อง บรรลุที่ปกป้อง ถึงที่
หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 1/3

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :112 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 4. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
ไม่จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงที่ไม่ตาย บรรลุที่ไม่ตาย ถึงที่ดับ บรรลุที่ดับแห่งชาติ ชรา
มรณะ ด้วยเวทเหล่านั้น
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าเวทคู เพราะถึงที่สุดแห่งความรู้ทั้งหลาย ชื่อว่าเวทคู เพราะ
ถึงที่สุดด้วยความรู้ทั้งหลาย ชื่อว่าเวทคู เพราะรู้แจ้งธรรม 7 ประการ คือ

1. เป็นผู้รู้แจ้งสักกายทิฏฐิ 2. เป็นผู้รู้แจ้งวิจิกิจฉา
3. เป็นผู้รู้แจ้งสีลัพพตปรามาส 4. เป็นผู้รู้แจ้งราคะ
5. เป็นผู้รู้แจ้งโทสะ 6. เป็นผู้รู้แจ้งโมหะ
7. เป็นผู้รู้แจ้งมานะ

ผู้มีความรู้นั้นเป็นผู้รู้แจ้งบาปอกุศลธรรม ซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง
ก่อภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะ
ต่อไป
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สภิยะ)
บุคคลเลือกเฟ้นเวททั้งสิ้น ของพวกสมณพราหมณ์ที่มีอยู่
เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง
ก้าวล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าเวทคู1
คำว่า ส่วนผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลายแล้ว อธิบายว่า รู้ คือ
รู้ยิ่งธรรมว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็น
อนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ... เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
... เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ... เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ...
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ... เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ...
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ... เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ...
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ... เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ... เพราะชาติ
เป็นปัจจัย ชรา มรณะจึงมี"
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมว่า "เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ... เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ... เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ... เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/535/438

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :113 }