เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 4. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า สัตว์เกิด ได้แก่ สัตว์ นรชน ... มนุษย์1 รวมความว่า สัตว์เกิดสมาทาน
วัตรทั้งหลายเอง
คำว่า ข้องอยู่ในสัญญา ย่อมดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ ได้แก่ จากศาสดา(แรก)
ไปหาศาสดา(ต่อมา) จากธรรมที่ศาสดากล่าวสอน(ครั้งแรก) ไปหาธรรมที่ศาสดา
กล่าวสอน(ครั้งต่อมา) จากหมู่คณะ(แรก) ไปหาหมู่คณะ(ต่อมา) จากทิฏฐิ(แรก) ไป
หาทิฏฐิ(ต่อมา) จากปฏิปทา(แรก) ไปหาปฏิปทา(ต่อมา) จากมรรค(แรก) ไปหา
มรรค(ต่อมา)
คำว่า ผู้ข้องอยู่ในสัญญา อธิบายว่า ผู้ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน
พัวพันในกามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ทิฏฐิสัญญา เปรียบเหมือน
สิ่งของ ข้อง คือ ติด เกี่ยว แขวน เกี่ยวพัน ติดตรึงอยู่ที่ตะปูข้างฝา หรือ ที่ไม้แขวน
ฉันใด สัตว์เกิดนั้นก็ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามสัญญา
พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ทิฏฐิสัญญา ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า
ผู้ข้องอยู่ในสัญญา ย่อมดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ

ว่าด้วยผู้รู้ธรรม 7 ประการ
คำว่า ผู้มีความรู้ ในคำว่า ส่วนผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยเวททั้งหลายแล้ว
ได้แก่ ผู้มีความรู้ คือ มีวิชชา มีญาณ มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีปัญญาแจ่มแจ้ง
มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
คำว่า ด้วยเวททั้งหลาย ได้แก่ ญาณในมรรค 4 ตรัสเรียกว่า เวท คือ ปัญญา
ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเครื่องพิจารณา ปัญญา
เครื่องเห็นแจ้ง สัมมาทิฏฐิ
ผู้มีความรู้นั้น ถึงที่สุด บรรลุที่สุด ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงปลายสุด
บรรลุปลายสุด ถึงความสำเร็จ บรรลุความสำเร็จ ถึงที่ปกป้อง บรรลุที่ปกป้อง ถึงที่
หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 1/3

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :112 }